การเปรียบเทียบประสิทธิผลของการขยายรูม่านตาระหว่างวิธีหยอดยาผสม 0.75% tropicamide กับ 2.5% phenylephrine 2 วิธี
กัญญา จุฑาสมิต, ทัศนีย์ วงศ์เกียรติ์ขจร, ปาริชาติ ดำรงรักษ์, พิทยา ภมรเวชวรรณ*, สุพรรณา กู้เกียรติกูล, โสภาพรรณ เงินฉ่ำDepartment of Ophthalmology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok 10700, Thailand; Phone: 0-2419-8033, Fax: 0-2411-1906; E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลและความปลอดภัยของวิธีหยอดยาผสม 0.75% tropicamide กับ 2.5% phenylephrine ที่ 0 และ 5 นาที (วิธี A) กับการหยอดยาผสมสูตรเดียวกันที่ 0 และ 30 นาที (วิธี B) ในทารกเกิดก่อนกำหนด
วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาไปข้างหน้าแบบสุ่มในทารกเกิดก่อนกำหนด 42 คน ที่จะได้รับการตรวจคัดกรองโรคจอตา เหตุทารกเกิดก่อนกำหนด โดยแบ่งทารกออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือ ทารกเกิดก่อนกำหนดที่ถูกหยอดยาผสมครั้งแรกด้วยวิธี A และ 1-4 สัปดาห์ ต่อมาเป็นครั้งที่สองด้วยวิธี B ส่วนกลุ่มที่ 2 คือทารกเกิดก่อนกำหนดที่ถูกหยอดยาผสมครั้งแรกด้วยวิธี B และ 1-4 สัปดาห์ต่อมาด้วยวิธี A และมีการบันทึกขนาดรูม่านตาอัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิต ทั้งก่อนและหลังการหยอดยาขยายรูม่านตา
ผลการศึกษา: ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการขยายขนาดรูม่านตาจนถึง 7 มิลลิเมตรของทั้งวิธี A และ B ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าเฉลี่ยวิธี A = 46.47 นาที วิธี B = 46.58 นาที) ส่วนวิธี B มีค่าเฉลี่ยของช่วงเวลาที่ขนาดรูม่านตาคงอยู่ถึง 7 มิลลิเมตร นานกว่าวิธี A (ค่าเฉลี่ยวิธี A = 67.67 นาที วิธี B = 75.33 นาที) แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างสองวิธี รวมถึงอัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิตก็ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างสองวิธี
สรุป: การหยอดยาผสมทั้ง 2 วิธี มีประสิทธิผลในการขยายขนาดรูม่านตาได้เพียงพอและปลอดภัยในการตรวจจอตา วิธี B มีผลในการคงขนาดรูม่านตา 7 มิลลิเมตร นานกว่าวิธี A เล็กน้อย จึงมีเวลาในการตรวจจอตาสำหรับจักษุแพทย์นานขึ้น
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2555, April
ปีที่: 95 ฉบับที่ Suppl4 หน้า S1-S7
คำสำคัญ
Phenylephrine, Tropicamide, Mydriasis, Pupillary dilation, Retinopathy of prematurity (ROP), Preterm infants