เปรียบเทียบผลทันทีของการทำ multiple thoracic manipulation และ single thoracic manipulation ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดคอเรื้อรัง: การศึกษานำร่องของ randomized controlled trial
ภูริชญา วีระศิริรัตน์, รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล*, อุไรวรรณ ชัชวาล, ปรีดา อารยวิชานนท์
Back, Neck and Other Joint Pain Research Group, Faculty of Associated Medical Sciences, Faculty of Medicine, Khon Kaen University; e-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
 
อาการปวดคอรื้อรังเป็นโรคทั่วไปที่พบได้บ่อยในประชาชนทั่วไป และส่งผลต่อคุณภาพชีวิต รวมถึงต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา ในปัจจุบันได้มีการรักษาโดยใช้เทคนิคการดัดดึงแบบ multiple thoracic manipulation และแบบ single thoracic manipulation เพื่อลดอาการปวดในผู้ป่วยที่มีอาการปวดคอเรื้อรังชนิด mechanical neck pain แต่ยังไม่มีการเปรียบเทียบผล ดังนั้นการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลทันทีของการทำ multiple thoracic manipulation และ single thoracic manipulation ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดคอเรื้อรัง โดยอาสาสมัครที่เข้าร่วมการศึกษานำร่องในครั้งนี้มีจำนวน 20 คน อายุระหว่าง
18-60 ปี ถูกสุ่มแบ่งเป็นกลุ่ม multiple thoracic manipulation และ single thoracic manipulation ผู้วิจัยคนที่ 1 ทำการประเมินภาวะทุพพลภาพของคอ (neck disability) จากการตอบแบบสอบถาม Neck Disability Index (NDI) และวัดอาการปวดคอขณะพัก (neck pain level at rest)โดยใช้แถบวัดอาการปวด (Visual Analog Scale: VAS) ส่วนผู้วิจัยคนที่ 2 ให้รักษาโดยใช้เทคนิค multiple thoracic manipulation และ single thoracic manipulation ในอาสาสมัครแต่ละคน มีการประเมินตัวแปรก่อนการรักษาและ24 ชั่วโมงหลังการรักษา ผลจากการศึกษานำร่องครั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างสองกลุ่มพบว่า neck disability และอาการปวดคอขณะพักไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม neck disability ก่อนและหลังการรักษาของทั้งสองกลุ่ม ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05 and P < 0.05 ตามลำดับ) ส่วนค่าอาการปวดคอขณะพัก ของทั้งสองกลุ่มหลังการรักษา ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.01 และ P < 0.01 ตามลำดับ) เช่น
เดียวกัน จากผลการศึกษาจึงสรุปได้ว่าทั้งการทำ multiple thoracic manipulation และ single thoracic manipulation ให้ผลไม่แตกต่างกัน โดยมีประสิทธิภาพที่ดีในการลด neck disability และลดอาการปวดคอขณะพักในผู้ป่วยที่มีอาการปวดคอเรื้อรังชนิด mechanical neck pain หลังจากการติดตามผลที่ 24 ชั่วโมง
 
ที่มา
วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด ปี 2555, May-August ปีที่: 24 ฉบับที่ 2 หน้า 208-219
คำสำคัญ
Chronic mechanical neck pain, Thoracic manipulation, Neck disability, Neck pain level at rest, อาการปวดคอเรื้อรัง, การดัดดึงข้อต่อกระดูกสันหลังระดับอก, อาการปวดคอขณะพัก