ปริมาณก๊าซที่เหมาะสมที่ทำให้ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในลมหายใจเข้าและออกอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ทางคลินิกเปรียบเทียบระหว่างวงจรให้ยาดมสลบ Baby EAR กับ Jackson Rees แบบควบคุมการหายใจในผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์
พนมพร เฉลิมชาติ, สรรชัย ธีรพงศ์ภักดี*, เดือนเพ็ญ ห่อรัตนาเรือง, ศรินญา จันทะวงศ์Anesthesiology division, Queen Sirikit National Institute of Child Health,Bangkok, Thailand
บทคัดย่อ
บทนำ: โดยทั่วไปการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั้งตัวในผู้ป่วยเด็กจะใช้วงจรให้ยาดมสลบชนิด Jackson Rees ต่อมาสรรชัยและคณะ ได้ประดิษฐ์วงจรให้ยาดมสลบชนิด Baby EAR ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงศึกษาหาปริมาณ FGF ที่เหมาะสมสำหรับช่วยหายใจในผู้ป่วยเด็กโดยไม่ทำให้เกิดภาวะคาร์บอนไดออกไซด์คั่ง วิธีการศึกษา: ศึกษาในผู้ป่วยเด็ก 24 ราย น้ำหนักไม่เกิน 20 กก. ASA class I-II ที่ได้รับการให้การระงับความรู้สึกแบบควบคุมการหายใจ โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1ใช้วงจรชนิด Jackson Rees กลุ่มที่ 2 ใช้วงจร Baby EAR เริ่มต้นให้ FGF 4 ลิตร/นาที บันทึกค่า ETCO2, IMCO2 และสัญญาณชีพหลังจากนั้นลดFGF ครั้งละ 0.5 ลิตร/นาที ทุก 5 นาที จนกระทั้ง FGF = 1 ลืตร/นาที หรือจนเกิดภาวะคาร์บอนไดออกไซด์คั่ง จึงหยุดการเก็บข้อมูล ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างในข้อมูลพื้นฐาน ค่า ETCO2 และ IMCO2 เฉลี่ยที่ FGF ต่างๆ เมื่อเปรียบเทียบทั้งสองวงจรให้ยาดมยาสลบพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติปริมาณ FGF ก่อนที่จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในวงจร Jackson Rees คือ2.25±0.81 ลิตร/นาที และวงจร Baby EAR คือ 1.83± 0.53 ลิตร/นาที ซึ่งไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน สรุป: วงจรให้ยาดมสลบ Baby EAR เป็นวงจรให้ยาดมสลบเด็กที่สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยเทียบเท่ากับวงจร Jackson Rees ในผู้ป่วยเด็กน้ำหนักไม่เกิน 20 กก. ที่ได้รับการให้ยาระงับความรู้สึกแบบควบคุมการหายใจ
ที่มา
วิสัญญีสาร ปี 2554, January-March
ปีที่: 37 ฉบับที่ 1 หน้า 27-33
คำสำคัญ
Breathing circuit, Jackson Rees, Baby EAR, control ventilation, วงจรให้ยาดมสลบ