การศึกษา randomized double blind, placebo-controlled ของการใช้ซิงค์ซัลเฟตระหว่างการฉายรังสีในผู้ป่วยมะเร็งระบบหู คอ จมูก เพื่อลดอาการอักเสบของเยื่อบุช่องปาก ลำคอ
ดวงใจ แสงถวัลย์*, เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี, วัฒนา สินกิจเจริญชัยDivision of Radiation Oncology, Department of Radiology, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University, Songkhla 90110, Thailand; Phone: 074-451-502, 074-451-503, Fax: 074-429-927; E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการให้ซิงค์ซัลเฟตระหว่างการฉายรังสีในผู้ป่วยมะเร็งระบบหู คอ จมูก ในแง่การลดอาการอักเสบของเยื่อบุช่องปาก ลำคอ
วัสดุและวิธีการ: ทำการศึกษาแบบ randomized double blind, placebo-controlled ในผู้ป่วยมะเร็งระบบหู คอ จมูกจำนวน 144 ราย ผู้ป่วยได้รับการฉายรังสีเพียงวิธีเดียวหรือได้รับการฉายรังสีหลังการผ่าตัด ปริมาณรังสี 1.8-2 Gy ปริมาณรังสีรวม 50-70 Gy ในระยะเวลา 5-7 สัปดาห์ และได้รับซิงค์ซัลเฟต หรือ placebo ครั้งละ 50 มิลลิกรัม (10 ซีซี) วันละ 3 ครั้ง รับประทานตั้งแต่วนแรกของการฉายรังสีรวมทั้งวันหยุดจนถึงวันที่ครบการฉายรังสี ผู้ป่วยได้รับการประเมินก่อนการฉายรังสีเป็นพื้นฐาน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ระหว่างการฉายรังสี และ 1 เดือนหลังครบฉายรังสี
ผลการศึกษา: ลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย ลักษณะโรค เทคนิคการฉายรังสี ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับซิงค์ซัลเฟตระหว่างการฉายรังสี ผลการประเมินอาการอักเสบของช่องปาก ลำคอ ที่มีระดับมากกว่าหรือเท่ากับ grade 2 ขึ้นไป พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ระหว่างการฉายรังสีแต่ละสัปดาห์และหลังครบฉายรังสี 1 เดือน สำหรับผลการประเมินอาการอักเสบของช่องปาก ลำคอ grade 3 พบผู้ป่วย 6 ราย (ร้อยละ 17) ในกลุ่มซิงค์ซัลเฟต และผู้ป่วย 10 ราย (ร้อยละ 23) ในกลุ่ม placebo มีอาการอักเสบของช่องปาก grade 3 และพบผู้ป่วย 22 ราย (รอยละ 32) ในกลุ่มซิงค์ซัลเฟต และผู้ป่วย 19 ราย (ร้อยละ 27) ในกลุ่ม placebo มีอาการอักเสบลำคอ grade 3 โดยไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม อย่างไรก็ตามไม่พบอาการอักเสบของช่องปาก ลำคอ grade 4 ทั้งกลุ่มซิงค์ซัลเฟตและ placebo อาการข้างเคียงที่พบคออาการคลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งมีความรุนแรงระดับเล็กน้อยและไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม
สรุป: การให้ซิงค์ซัลเฟตระหว่างการฉายรังสีในผู้ป่วยมะเร็งระบบหู คอ จมูก ไม่ลดอาการอักเสบของเยื่อบุช่องปาก ลำคอ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและผลข้างเคียงของซิงค์ซัลเฟตอยู่ในระดับปลอดภัย
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2556, January
ปีที่: 96 ฉบับที่ 1 หน้า 69-76
คำสำคัญ
Head and neck cancer, Radiation therapy, Zinc sulfate, Oral mucositis, Pharyngitis