การฉีกมดลูกในแนวตั้งกับแนวนอนในการผ่าตัดคลอด
สุกานดา มหาวีรวัฒน์*, รุ่งฤดี จีระทรัพย์Department of Obstetrics and Gynecology, Khon Kaen Hospital, Khon Kaen, Thailand
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดแผลที่ไม่ตั้งใจ เมื่อฉีกแผลมดลูกในแนวตั้งเปรียบเทียบกับแนวนอนในการผ่าตัดคลอด
วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาแบบ Prospective randomized controlled trial ในสตรีตั้งครรภ์ที่เข้ารับการผ่าตัดคลอด แบ่งเป็นการสุ่มฉีกแผลมดลูกในแนวตั้งและแนวนอน โดยศึกษาอุบัติการณ์การเกิดแผลที่ไม่ตั้งใจ
ผลการวิจัย: สตรีตั้งครรภ์ 500 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มศึกษากลุ่มละ 250 คน ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในอุบัติการณ์การเกิดแผลที่ไม่ตั้งใจ (RR 0.57, 95% CI 0.32-1.03) พบการฉีกขาดของ uterine vessels และการเย็บมดลูกเพิ่มลดลงในกลุ่มฉีกแนวตั้งอย่างมีนัยสำคัญ (RR 0.40, 95% CI 0.22-0.72 และ RR 0.60, 95% CI 0.43-0.85) โดยที่ทั้งสองวิธีระยะเวลาการเย็บมดลูก การเสียเลือดระหว่างการผ่าตัดทั้งสองกลุ่มไม่ต่างกัน
สรุป: ไม่มีความแตกต่างในการเกิดแผลที่ไม่ตั้งใจในกลุ่มฉีกมดลูกในแนวตั้งและแนวนอน
ที่มา
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2553, July
ปีที่: 18 ฉบับที่ 3 หน้า 120-125
คำสำคัญ
Cesarean delivery, blunt expansion, unintended uterine extension