การศึกษาแบบไปข้างหน้าแบบสุ่มถึงผลของการเย็บปิดและไม่เย็บปิดเยื่อบุช่องท้องในการผ่าตัดคลอดบุตร
จิรายุส ดุลยเกียรติDepartment of obstetrics and gynecology, Trang Hospital, Trang, Thailand
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบการเย็บปิดและไม่เย็บปิดเยื่อบุช่องท้อง ขณะทำการผ่าตัดตลอดบุตรถึงผลความแตกต่างในด้าน ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดในระยะสั้น
วิธีการ: ทำการศึกษาแบบไปข้างหน้าแบบสุ่มหญิงตั้งครรภ์แรกที่ได้รับการผ่าตัดคลอดบุตร จำนวน 398 ราย แบ่งเป็น 207 ราย ที่เย็บปิดและ 191 ราย ที่ไม่เย็บปิดเยื่อบุช่องท้องในการผ่าตัดคลอดบุตร ศึกษาเปรียบเทียบผลขณะทำผ่าตัด เช่น ปริมาณการใช้ยาแก้ปวดและภาวะแทรกซ้อน
ผลการศึกษา: ไม่มีความแตกต่างตามนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มที่เย็บปิดและไม่เย็บปิดในด้าน จำนวนครั้งเฉลี่ยของการใช้ยาแก้ปวดแบบ narcotic (1.09+1.2 vs 1.05 +1.0, p = 0.63 ตามลำดับ) จำนวนครั้งเฉลี่ยของการใช้ยาแก้ปวดแบบ non-narcotic (4.69 +2.7 vs 4.65 +2.8, p = 0.89 ตามลำดับ) จำนวนหญิงมีไข้มากกว่า 38 ºซ หลังผ่าตัด (14 vs 11, P = 0.37 ตามลำดับ) จำนวนหญิงที่มีแผลอักเสบ (22 vs 26, P = 0.54 ตามลำดับ) และจำนวนวันเฉลี่ยนอนโรงพยาบาล (4.16 +0.91 vs 4.14 + 0.71, P = 0.78 ตามลำดับ)
สรุป: การเย็บปิดเยื่อบุช่องท้องในการผ่าตัดคลอดบุตรไม่มีความแตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติในด้านการใช้ยาแก้ปวดหลังผ่าตัด และภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดระยะสั้นเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่เย็บปิด
ที่มา
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2555, July
ปีที่: 20 ฉบับที่ 3 หน้า 95-100
คำสำคัญ
Cesarean section, Morbidity, peritoneum closure, non-closure