ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เก้าในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ภาคเหนือตอนบน
กิ่งกาญจน์ เพียรไพรงาม*, รุ้งระวี นาวีเจริญคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ระยะเวลาการป่วยเป็นเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารเช้า โรคร่วม ภาวะแทรกซ้อน และระดับความรุนแรงของแผลที่เท้า กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ภาคเหนือตอนบน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้าซึ่งมารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก ณ โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขภาคเหนือตอนบน จำนวน 150 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบวัดคุณภาพชีวิต (WHOQOL-BREF-THAI) ซึ่งพัฒนาโดย สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุลและคณะ (2545) สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ครอนบาค เท่ากับ .89 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมนและไคว์สสแควร์
ผลการวิจัยพบว่า
- คุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า ภาคเหนือตอนบนมีคุณภาพชีวิตระดับปานกลาง
- ระยะเวลาการเจ็บป่วย ระดับความรุนแรงของแผลที่เท้ามีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.282, p = -.167 ตามลำดับ)
- อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ระดับน้ำตาลในเลือด การมีโรคความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อนไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า (p > 0.5)
ที่มา
วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ ปี 2555, September-December
ปีที่: 24 ฉบับที่ 3 หน้า 16-17
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, คุณภาพชี่วิต, Patients with diabetic foot ulcers, Factors related to quality of life, ผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต