ต้นทุนอรรถประโยชน์ของการให้บริการผู้ป่วยนอกศูนย์บริการสาธารณสุขชุมชน เขตเมืองมะเขือแจ้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
วรพจน์ พิทักษ์ดำรงวงศ์*, โภคิน ศักรินทร์กุลโรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน
บทคัดย่อ
จากแนวโน้มการให้บริการผู้ป่วยนอกที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในระดับปฐมภูมิ ผู้วิจัยจึงมีความประสงค์ที่จะวิเคราะห์ต้นทุนและอรรถประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยนอกของศูนย์บริการสาธารณสุขชุมชนเขตเมืองมะเขือแจ้ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2552 ถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2553 โดยสุ่มเลือกแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จากจำนวนผู้มารับบริการ 1,135 คน (16,891 ครั้ง) ได้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังจำนวน 168 คน (ร้อยละ 44.4) และผู้ป่วยโรคเฉียบพลัน 210 คน (ร้อยละ 55.6) ผลการศึกษาพบต้นทุนทางตรงทางการแพทย์เฉลี่ย 6 เดือน อยู่ที่ 847.54 บาทต่อคน (ผู้ป่วยเฉียบพลันมีค่าเฉลี่ย 381.82 บาท ผู้ป่วยเรื้อรังมีค่าเฉลี่ย 1,429.70 บาท) ต้นทุนทางตรงไม่ใช่ทางการแพทย์เฉลี่ย 6 เดือนอยู่ที่ 261.68 บาทต่อคน (ผู้ป่วยเฉียบพลันมีค่าเฉลี่ย 165.34 บาท ผู้ป่วยเรื้อรังมีค่าเฉลี่ย 382.10 บาทต่อคน) ต้นทุนรวมต่อผู้บริการหนึ่งคนในช่วงระยะเวลา 6 เดือน เฉลี่ยอยู่ที่ 1,109.22 บาทต่อคน (ผู้ป่วยเฉียบพลันมีค่าเฉลี่ย 547.15 บาท ผู้ป่วยเรื้อรังมีค่าเฉลี่ย 1,811.80 บาท) หากต้นทุนรวมต่อผู้บริการหนึ่งคนในช่วงระยะเวลา 6 เดือนสะท้อนถึงอรรถประโยชน์ (Cost utility) ของการให้บริการผู้ป่วยนอกศูนย์แพทย์ชุมชนตำบลมะเขือแจ้จะพบว่าคะแนนอรรถประโยชน์ของผู้ป่วยเฉียบพลันมีค่าเฉลี่ย 0.74 คะแนนอรรถประโยชน์ของผู้ป่วยเรื้อรังมีค่าเฉลี่ย 0.76 คะแนนอรรถประโยชน์ของผู้ป่วยทั้งหมดมีค่า 0.75 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลางถึงไม่มีปัญหา
ที่มา
วารสารสาธารณสุขล้านนา ปี 2555, January-April
ปีที่: 8 ฉบับที่ 1 หน้า 25-40
คำสำคัญ
ต้นทุนอรรถประโยชน์, Cost utility, Primary health care, บริการปฐมภูมิ