ผลของการใช้ท่า Prince of Songkha University Locked-Upright ต่อระยะเวลาความปวดและความสุขสบายในระยะที่ 2 ของการคลอดในหญิงครรภ์แรก
จิตติ ลาวัลย์ตระกูล, ปัทมา จันทร์สุวรรณ, เสงี่ยม เตชะภัทรกุล, สรัลภัค หมอกเรืองใส, ศศิธร พุมดวง*ภาควิชาการพยาบาลสูติ-นรีเวชและผดุงครรภ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประเทศไทย
บทคัดย่อ
ในระยะที่ 2 ของการคลอดมารดาส่วนใหญ่มีความปวดมากและไม่สุขสบาย และระยะเวลาที่ยาวนานมีผลเสียต่อสุขภาพของมารดาและทารก ดังนั้นการวิจัยเชิงทดลอง (randomized factorial design) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบการใช้ท่า Prince of Songkla University locked-upright (PSU locked-upright) ต่อการย่นระยะเวลา ความปวด (sensation และ distress) และความสุขสบาย ในระยะที่ 2 ของการคลอด ศึกษาในมารดาครรภ์แรก 320 ราย ที่ไม่มีปัญหาสุขภาพ สุ่มกลุ่มตัวอย่างเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 80 ราย ดังนี้ กลุ่ม 1 นอนราบ กลุ่ม 2 PSU locked-upright เข่าชิดอก กลุ่ม 3 PSU locked-upright ขาขึ้นขาหยั่ง และกลุ่ม 4 นอนศีรษะสูง 45-60º ขาขึ้นขาหยั่งสำหรับทำ PSU locked-upright หมายถึงนอนศีรษะสูง 45-60º บริเวณเอวหนุนด้วยหมอนสูง 30-40º
ผลการวิจับพบว่ากลุ่ม 1 มีระยะเวลาของระยะที่ 2 ของการคลอดนานกว่าอีก 3 กลุ่มอย่างมีนัยสำคัญ ถึงแม้ว่าระยะเวลาของระยะที่ 2 ของการคลอดของกลุ่ม 2, 3 และ 4 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ระยะเวลาในระยะที่ 2 ของการคลอดของกลุ่ม 3 สิ้นที่สุด จากผลการวิจัยกล่าวได้ว่าการใช้ท่า PSU locked-upright ขาขึ้นขาหยั่งช่วยย่นระยะเวลาในระยะที่ 2 ของการคลอดให้สิ้นลง นอกจากนี้ไม่พบความแตกต่างของความปวด ความตึงเครียดจากความปวด ลักษณะทาง ประชากรศาสตร์ สูติศาสตร์ และทารกของทั้ง 4 กลุ่ม นอกจากนี้พบว่ามารดาในกลุ่มนอนราบ (กลุ่ม 1) ปวดหลังมากที่สุด และไม่สุขสบายกับการนอนราบ
ที่มา
Pacific Rim International Journal of Nursing Research ปี 2553, April-June
ปีที่: 14 ฉบับที่ 2 หน้า 112-121
คำสำคัญ
labor pain, PSU locked-upright position, Duration of second stage labor, Labor positions, Primiparous Thai women, ความปวด, ระยะที่ 2 ของการคลอด, ท่าในระยะคลอด, หญิงไทยครรภ์แรก