ประสิทธิภาพของโปรแกรมการจัดการตนเองสำหรับผู้เป็นความดันโลหิตสูง
ดลรัตน์ รุจิวัฒนากร*, อรสา พันธ์ภักดี, พรทิพย์ มาลาธรรม, ศุภชัย ถนอมทรัพย์ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ ประเทศไทย
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อความรู้เรื่องความจำเป็นในการดูแลตนเองความสามารถในการดูแลตนเอง ความสามารถในการดูแลตนเอง และการควบคุมความดันโลหิตในผู้เป็นความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุที่ควบคุมโรคไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างซึ่งคัดเลือกแบบเจาะจง คุณสมบัติจำนวน 96 ราย จากโรงพยาบาลชุมชนหนึ่งแห่งในประเทศไทย ถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 50 คน หรือกลุ่มควบคุม 46 คน ด้วยวิธีสุ่มแบบง่าย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง 10 สัปดาห์และการดูแลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติเท่านั้น โปรแกรมการจัดการตนเองประกอบด้วยการเข้ากลุ่มเรียนรู้แบบกลุ่มย่อย 3 ครั้ง เพื่อปรับกระบวนการผลิต เพิ่มความรู้เรื่องความดันโลหิตสูงและความสามารถในการดูแลตนเอง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามและการวัดความดันโลหิตก่อนและ 4 สัปดาห์หลังสิ่งสุดโปรแกรม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ Mann-Whitmey U test และ independent t-test ผลการศึกษาพบว่า 4 สัปดาห์หลังสิ้นสุดโปรแกรมกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยอันดับของความรู้เรื่องความจำเป็นในการดูแลตนเองและความสามารถในการดูแลตนเองด้านการกินยา การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการประเมินตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุม และมีค่าเฉลี่ยความดันโลหิตซิสโตลิคและไดแอสโตลิตต่ำกว่ากลุ่มควบคุม ผลการศึกษานี้แสดงว่า โปรแกรมการจัดการตนเองสำหรับผู้เป็นความดันโลหิตสูง มีประสิทธิภาพต่อการเพิ่มความรู้เรื่องความจำเป็นในการดูแลตนเอง และการควบคุมความดันโลหิต
ที่มา
Pacific Rim International Journal of Nursing Research ปี 2554, April-June
ปีที่: 15 ฉบับที่ 2 หน้า 97-110
คำสำคัญ
hypertension, ความดันโลหิตสูง, ความสามารถในการดูแลตนเอง, Self-management Program, โปรแกรมการจัดการตนเอง, Blood pressure control, Self-care ability, การควบคุมความดันโลหิต