ประสิทธิภาพของมะนาวสดในการช่วยเลิกสูบบุหรี่
สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา*, ฉัตรชัย เอกปัญญาสกุล, ชนินทร์ สกุลอิสริยาภรณ์, ประภาดา วัชรนาถ, กัญญานิษฐ์ อัครกุลวัสส์Department of Medicine, Faculty of Medicine, Srinakharinwirot University, 62 Moo 7 Ongkharak, Nakhon Nayok 26120, Thailand; Phone: 037-395-085 ext. 11003, Fax: 037-395-085 ext. 11003; E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของมะนาวสดในการช่วยเลิกบุหรี่เปรียบเทียบกับหมากฝรั่งนิโคตีน
วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาแบบสุ่มโดยใช้อาสาสมัครที่สูบบุหรี่เป็นประจำและมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และประสงค์ที่จะเลิกบุหรี่ โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งได้รับมะนาวสด (จำนวน 47 ราย) ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งได้รับหมากฝรั่งนิโคตีน (จำนวน 53 ราย) ผู้ป่วยที่ใช้ยาเลิกบุหรี่ชนิดอื่นๆ แพ้มะนาว หรือมีปัญหาสุขภาพฟัน จะถูกคัดออกจากโครงการ อัตราการเลิกบุหรี่สำเร็จระหว่างสัปดาห์ที่ 9-12 จะต้องถูกยืนยันด้วยเครื่องตรวจวัดระดับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจ และใช้การวัดอาการอยากบุหรี่ด้วย 100-mm VAS
ผลการศึกษา: อัตราการเลิกบุหรี่สำเร็จของทั้งสองกลุ่มระหว่างสัปดาห์ที่ 9-12 นั้นไม่แตกต่างกันทางสถิติ (61.7% vs. 66.0%; p = 0.65) แม้ว่า 7-day point prevalence abstinence ในสัปดาห์ที่ 4 นั้น กลุ่มที่ได้รับมะนาวจะต่ำกว่าของกลุ่มที่ได้รับหมากฝรั่งนิโคตีนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (38.3% vs. 58.5%; p = 0.04) ส่วนอาการอยากบุหรี่นั้นไม่แตกต่างกันในทั้งสองกลุ่ม แม้ว่ากลุ่มที่ได้รับมะนาวจะมีอาการอยากบุหรี่ที่รุนแรงกว่ากลุ่มที่ได้รับหมากฝรั่งนิโคตีน
สรุป: มะนาวสดมีประสิทธิภาพในการช่วยเลิกบุหรี่ แม้ว่าจะช่วยลดอาการอยากบุหรี่ได้ไม่ดีเท่ากับหมากฝรั่งนิโคตีนก็ตาม
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2555, December
ปีที่: 95 ฉบับที่ Suppl12 หน้า S76-S82
คำสำคัญ
Smoking cessation, Fresh lime, Nicotine gum, Cravings