การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเทคนิค Modified Dynamic Stretching กับเทคนิค Hold-Relax ต่อการเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของการงอข้อเข่าในผู้ป่วยลำกระดูกต้นขาหักหลังผ่าตัดยึดตรึงกระดูกด้วยแผ่นดามกระดูก
สมชัย ยิ้มศิริ*, ศุภรินทร์ ยิ้่มศิริงานกายภาพบำบัด กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลมหาสารคาม
บทคัดย่อ
การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักหลังผ่าตัดตรึงกระดูก มีเป้าหมายเพื่อป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนข้อเข่าติดแข็ง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในด้านการเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของการงอข้อเข่า และระดับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น ของเทคนิค Modified Dynamic Stretching กับเทคนิค Hold-Relax โดยศึกษาในผู้ป่วยลำกระดูกต้นขาหักหลังผ่าตัดยึดตรึงกระดูกด้วยแผ่นดามกระดูก ในโรงพยาบาลมหาสารคาม ปี พ.ศ.2552-2553 จำนวน 30 ราย
ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพของการเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของการงอข้อเข่าในผู้ป่วยลำกระดูกต้นขาหักหลังผ่าตัดยึดตรึงกระดูกด้วยแผ่นดามกระดูก ระหว่างเทคนิค Modified Dynamic Stretching และเทคนิค Hold-Relax มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อเปรียบเทียบค่าความแตกต่างของระดับความเจ็บปวดที่เพิ่มขึ้นขณะพักก่อน การให้บริการกับระดับความเจ็บปวดสูงสุด ระหว่างกลุ่มที่ใช้เทคนิค Hold-Relax กับกลุ่มที่ใช้เทคนิค Modified Dynamic Stretching พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value < 0.05)
สรุปและข้อเสนอแนะ ด้วยเทคนิค Modified Dynamic Stretching มีแนวโน้มทำให้เกิดความเจ็บปวดน้อยกว่าผู้ป่วยมีความสุขสบายมากกว่า จึงเหมาะที่จะใช้ฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่ไม่ค่อยมีความอดทนและกลัวต่อความเจ็บปวด
ที่มา
วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม ปี 2555, December
ปีที่: 9 ฉบับที่ 3 หน้า 78-86
คำสำคัญ
Range of motion, Fracture shaft of Femur, ลำกระดูกต้นขาหัก, พิสัยการเคลื่อนไหว