เปรียบเทียบผลการระงับปวดหลังผ่าตัดระหว่าง interscalene block และ interscalene block ร่วมกับการให้ยาชาควบคุมโดยผู้ป่วยทาง subacromial space ในผู้ป่วยผ่าตัดส่องกล้องบริเวณไหล่
อลิสา เสียงลิ่วลือ*, บัญชา ชื่นชูจิตต์, สุวรรณี สุรเศรณีวงศ์ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการให้ยาชาผ่านทาง subacromial space ร่วมกับการทำ interscalene block ในการระงับปวดหลังผ่าตัดส่องกล้องบริเวณไหล่
วิธีศึกษา: ผู้ป่วย 40 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่มแบบสุ่ม ได้แก่ กลุ่ม ISB-SA และ ISB-NSS ก่อนผ่าตัดทั้งสองกลุ่มจะได้รับการทำ intersclaene block และก่อนเสร็จผ่าตัดศัลยแพทย์จะวางสายไว้ใน subacromial space ผ่านทางกล้อง สายทั้งหมดจะถูกต่อเข้ากับเครื่อง PCA โดยผู้ป่วยกลุ่ม ISB-SA จะได้รับยา 0.25% levobupivacaine ในขณะที่ผู้ป่วยกลุ่ม ISB-NSS จะได้รับ NSS ผู้ป่วยจะได้รับการประเมิน VAS, ยาแก้ปวดเพิ่มเติมที่ผู้ป่วยใช้, ภาวะแทรกซ้อนและความพึงพอใจในการระงับปวด
ผลการศึกษา: จากการศึกษาพบว่า VAS ปริมาณยาแก้ปวด ผลข้างเคียง ความพึงพอใจต่อการระงับปวดในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มที่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าพี ≥ 0.05) และมากกว่า ร้อยละ 70 ของผู้ป่วยยังได้รับการระงับปวดหลังผ่าตัดได้ไม่เพียงพอหลังจากฤทธิ์ระงับปวดของ interscalene block ลดลง
สรุป: การระงับปวดในผู้ป่วยกลุ่มที่ให้ levobupivacaine ผ่านทาง subacromial space ร่วมกับการทำ interscalene block นั้นไม่ต่างกับการทำ interscalene block เพียงอย่างเดียว การให้ยาชาผ่านทาง subacromial space ร่วมกับการทำ interscalene block จึงอาจไม่ใช่วิธีการระงับปวดที่เหมาะสมสำหรับการผ่าตัดส่องกล้องบริเวณไหล่
ที่มา
ธรรมศาสตร์เวชสาร ปี 2555, July-September
ปีที่: 12 ฉบับที่ 3 หน้า 434-445
คำสำคัญ
postoperative analgesia, การระงับปวดหลังผ่าตัด, Subacromial infusion, Interscalene block, Shoulder arthroscopy, การให้ยาชาผ่านทางช่องใต้ subacromial, การฉีดยาชาระงับเส้นประสาท brachial plexus, การผ่าตัดส่องกล้องบริเวณไหล่