ผลของการให้คำปรึกษาเน้นการปรับพฤติกรรมความคิดต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
บุษบา คล้ายมุข
Department of Psychiatric , Sena Hospital Ayutthaya Province, Email:[email protected]
บทคัดย่อ
                การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลเน้นการปรับพฤติกรรมความคิด และเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษากับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งจำนวน 30 ราย จับคู่ตามคุณลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา และคะแนนภาวะซึมเศร้าสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 15 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลเน้นการปรับพฤติกรรมความคิด และแบบประเมินภาวะซึมเศร้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated Measures ANOVA)
                ผลการวิจัยพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกับช่วงเวลาของการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) กลุ่มทดลองมีภาวะซึมเศร้าภายหลัง การได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลเน้นการปรับพฤติกรรมความคิดและในระยะติดตามผลต่ำกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และกลุ่มทดลองมีภาวะซึมเศร้าต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)
                จากผลการวิจัยครั้งนี้ ควรมีการนำโปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลเน้นการปรับพฤติกรรมความคิดไปใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และผู้ป่วยโรคอื่นๆที่มีภาวะซึมเศร้าร่วม ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดในการพยาบาลผู้ป่วย
 
ที่มา
วารสารสภาการพยาบาล ปี 2555, July-September ปีที่: 3 ฉบับที่ 27 หน้า 106-115
คำสำคัญ
ภาวะซึมเศร้า, ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า, perception adjustment consultation programme, state of depression, depression patient, โปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลเน้นการปรับพฤติกรรมความคิด