การเปรียบเทียบระหว่างยาคุมกำเนิดและการเฝ้าติดตามในการรักษาถุงน้ำรังไข่ตามสรีรวิทยา
สุขุมาลย์ เสนอศักดิ์, ศรันญา วัฒนกำธรกุล*, ชัชวาล ก่อสกุล, ชัชวาล ก่อสกุล, ศรันญา วัฒนกำธรกุล, สุขุมาลย์ เสนอศักดิ์
Department of Obstetrics and Gynaecology, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University, Hat Yai, Songkhla 90110, Thailand
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนต่ำในการรักษาถุงน้ำรังไข่ตามสรีรวิทยาที่เกิดขึ้นเองซึ่งถูกตรวจพบโดยเครื่องคลื่นเสียงความถี่สูงโดยเปรียบเทียบกับการเฝ้าติดตาม วัสดุและวิธีการ: สตรีวัยเจริญพันธุ์ทั้งหมดจำนวน 70 รายที่มีถุงน้ำรังไข่ตามสรีรวิทยาจากการตรวจพบด้วยเครื่องคลื่นเสียงความถี่สูงได้รับการสุ่มให้อยู่ในกลุ่มที่ได้รับยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนต่ำหรือกลุ่มที่เฝ้าติดตามอย่างเดียวและติดตามดูถุงน้ำรังไข่ที่ 1 เดือนโดยการตรวจด้วยเครื่องคลื่นเสียงความถี่สูงครั้งที่ 2 ถ้าพบว่าถุงน้ำรังไข่ยังคงอยู่ สตรีจะได้รับการติดตามต่ออีก 1 เดือนในขณะที่ยังคงได้รับการรักษาเดิม ผลการศึกษา: อัตราการหายไปของถุงน้ำรังไข่ที่ 1 เดือนคิดเป็นร้อยละ 63.6 ในกลุ่มยาเม็ดคุมกำเนิดและร้อยละ 52.9 ในกลุ่มเฝ้าติดตาม หลังการรักษาที่ 2 เดือนพบอัตราการหายไปเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 72.7 และ 67.6 ตามลำดับ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างสองกลุ่มทั้งที่ 1 และ 2 เดือนหลังการรักษา สำหรับในกลุ่มสตรีที่ได้รับยาเม็ดคุมกำเนิด ผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุดคือสิว คิดเป็นร้อยละ 18 สรุป: ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนต่ำไม่ได้มีประสิทธิผลเหนือกว่าการเฝ้าติดตามในการรักษาถุงน้ำรังไข่ตามสรีรวิทยา
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2549, June ปีที่: 89 ฉบับที่ 6 หน้า 741-747
คำสำคัญ
Expectant management, Functional ovarian cyst, Oral contraceptive pills, Remission rate