ต้นทุนระยะเฉียบพลันและกึ่งเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ชัยโรจน์ ซึงสนธิพร, ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย*, อรทัย เขียวเจริญFaculty of Medicine, Centre for Health Equity Monitoring, Naresuan University, Phitsanulok 65000, Thailand; Phone: 055-252-052 ext. 311, Fax: 055-244-410; e-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขและเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้เกิดการสูญเสียอย่างมหาศาลทางด้านเศรษฐกิจของโลก
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาต้นทนในมุมมองของผู้ให้บริการและปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนของการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลันและกึ่งเฉียบพลัน
วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาต้นทุนบนพื้นฐานความชุกและโรคด้วยวิธีจุลภาจากผู้ป่วยหลอดเลือดสมองรายใหม่ จำนวน 407 ราย โดยการเก็บข้อมูลต้นทุนแบบไปข้างหน้าระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2551 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.2552
ผลการศึกษา: ต้นทุนเฉลี่ยในการนอนโรงพยาบาล 1 ครั้ง เท่ากับ 32,372 บาท โดยต้นทุนการรักษาพยาบาลในระยะเฉียบพลันสูงกว่าระยะกึ่งเฉียบพลัน ซึ่งต้นทุนมีความแตกต่างกันเมื่อระดับความพิการต่างกัน ปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนในระยะเฉียบพลันคือการผ่าตัด พยาธิสภาพมีเลือดออกที่สมอง วันนอนโรงพยาบาล (adjusted R2 = 0.755; p < 0.001) ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนในระยะกึ่งเฉียบพลันคือระดับความพิการที่ประเมินด้วยเครื่องมือบาร์เทล อินเด็กส์ เพศ การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ และโรงพยาบาล (adjusted R2 = 0.748; p < 0.001)
สรุป: คุณลักษณะของผู้ป่วย พยาธิสภาพของโรค การรักษาและระยะของการรักษา (ระยะเฉียบพลันและกึ่งเฉียบพลัน) ควรนำไปพิจารณาในนโยบายการจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยการบริการสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2555, October
ปีที่: 10 ฉบับที่ 95 หน้า 1266-1277
คำสำคัญ
Acute, Cost of stroke, Sub-acute care, Micro-costing approach