ประสิทธิภาพของการหยดเบนซีดามีนไฮโดรคลอไรด์บนถุงลมของท่อหายใจต่อการป้องกันการเกิดอาการเจ็บคอหลังการผ่าตัด
ศศิกานต์ นิมมานรัชต์*, เกษศิรินทร์ โชคกิจชัย, ธวัช ชาญชญานนท์Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University, Hat Yai, Songkhla 90110, Thailand; Phone: 089-653-0842, Fax: 074-429-621; E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: อาการเจ็บคอหลังการผ่าตัดเป็นอาการที่เกิดขึ้นบ่อยหลังการใส่ท่อหายใจ ซึ่งมีผลกระทบต่อความพึงพอใจของผู้ป่วยเบนซีดามีนไฮโดรคลอไรด์เป็นยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ซึ่งสามารถให้บนเยื่อบุได้ การศึกษานี้เพื่อประเมินผลการระงับปวดของเบนซีดามีนไฮโดรคลอไรด์ที่หยดบนถุงลมของท่อหายใจต่อการเกิดอาการเจ็บคอหลังการผ่าตัด
วัสดุและวิธีการ: แบ่งผู้ป่วย 86 ราย ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมที่ไม่มีการหยดสิ่งใดๆ บนถุงลมของท่อหายใจ และกลุ่มเบนซีดามีนไฮโดรครอไรด์ซึ่งมีการหยดสารละลายเบนซีดามีนไฮโดรคลอไรด์ 3 มล. (4.5 มก.) บนถุงลมของท่อหายใจ 5 นาที ก่อนเริ่มนำสลบ ประเมินอัตราการเกิดและความรุนแรงของอาการเจ็บคอหลังการผ่าตัดที่ 0, 2, 4, 6, 12 และ 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด รวมทั้งประเมินการเกิดผลข้างเคียง ได้แก่ ชาในลำคอ ปวดแสบร้อนระคายเคืองในลำคอ ปากแห้ง และอาการกระหายน้ำ
ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 25 ราย ของแต่ละกลุ่ม (ร้อยละ 58.14) มีอาการเจ็บคอหลังการผ่าตัด (p-value = 1) ความรุนแรงของอาการเจ็บคอที่แต่ละเวลาของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ไม่แตกต่างกัน ผู้ป่วยในกลุ่มเบนซีดามีนไฮโดรคลอไรด์เกิดผลข้างเคียงไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม
สรุป: การหยดสารละลายเบนซีดามีนไฮโดรคลอไรด์บนถุงลมของท่อหายใจ ไม่ลดอุบัติการณ์ของการเกิดอาการเจ็บคอหลังการผ่าตัด รวมทั้งไม่เพิ่มการเกิดผลข้างเคียงด้วย
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2556, October
ปีที่: 10 ฉบับที่ 96 หน้า 1331-1337
คำสำคัญ
postoperative sore throat, Benzydamine hydrochloride, Endotracheal tube