คุณภาพชีวิตของโรคหอบหืดในเด็กกับความรู้ของผู้ดูแล
วันวิสาข์ กาญจนาภรณ์กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสงขลา
บทคัดย่อ
บทนำ: โรคหอบหืดมีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย การรักษาที่เหมาะสมประกอบด้วยการใช้ยา การป้องกันการกำเริบของอาการดังนั้นผู้ดูแลผู้ป่วยควรมีความรู้เกี่ยวกับโรค การใช้ยา และการป้องกันการกำเริบของอาการเพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็ก
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตผู้ป่วยหอบหืดกับความรู้ผู้ดูแล
วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบภาคตัดขวาง เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วย ที่เข้ารับการรักษาในคลินิกหอบหืดเด็กโรงพยาบาลสงขลาตั้งแต่ 1 เมษายน พ.ศ.2555 – 1 กรกฎาคม พ.ศ.2555 ผู้ดูแลได้รับการทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคหอบหืดและตอบแบบสอบถามคุณภาพชีวิต
ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 62 ราย และผู้ดูแล 51 คะแนนเฉลี่ยความรู้โดยรวมของผู้ดูแลเท่ากับ ร้อยละ 53.45 คะแนนเฉลี่ยความรู้รายด้านทุกด้าน (อาการ, สิ่งกระตุ้น, การรักษาและการกำเริบของอาการ) น้อยกว่าร้อยละ 60 คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตโดยรวมเท่ากับ ร้อยละ 90.12 คะแนนเฉลี่ยคุณภาพรายด้านทุกด้าน (การทำกิจกรรม, อาการและอารมณ์) มากกว่าร้อยละ 80 คะแนนความรู้ผู้ดูแลในทุกด้านและคะแนนรวมไม่มีความสัมพันธ์กับคะแนนคุณภาพชีวิตในทุกด้านและคะแนนรวม (r=-0.118-0.265, P > 0.05) ผู้ป่วยร้อยละ 62.96 ใช้ยาสเตรียรอยด์พ่นอย่างน้อย medium dose หรือใช้ยาหลายชนิด
สรุป: คะแนนความรู้ผู้ดูแลผู้ป่วยหอบหืดเด็กอยู่ในเกณฑ์ต่ำ คะแนนคุณภาพชีวิตอยู่ในเกณฑ์ดี
ที่มา
วารสารวิชาการเขต 12 ปี 2556, May-August
ปีที่: 24 ฉบับที่ 2 หน้า 6-9