ผลของการกระตุ้นประสาทสัมผัสการรับกลิ่นด้วยน้ำนมมารดา ต่อการตอบสนองความเจ็บปวดจากการเจาะเลือดบริเวณสันเท้าในทารกแรกเกิดครบกำหนด
สิรวี อินหรุ่น, ทิพวัลย์ ดารามาศ*, เรณู พุกบุญมีโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาผลการกระตุ้นประสาทสัมผัสการรับกลิ่นด้วยน้ำนมมารดา ต่อการตอบสนองความเจ็บปวดจากการเจาะเลือดบริเวณส้นเท้าในทารกแรกเกิดครบกำหนด คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างอายุครรภ์ 37-42 สัปดาห์ มีอายุตั้งแต่ 48 ชั่วโมงหลังคลอด จากหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สุ่มตัวอย่างทารกเข้ากลุ่มทดลอง 25 ราย ได้รับการกระตุ้นประสาทสัมผัสการรับกลิ่นด้วยน้ำนมมารดาก่อนเจาะเลือดบริเวณส้นเท้า 1 นาที และกลุ่มควบคุม 25 ราย ได้รับการพยาบาลตามปกติ โดยใช้แบบประเมินปฏิกิริยาการตอบสนองด้านพฤติกรรม เครื่องพัลส์ออกซิมิเตอร์วัดความอิ่มตัวของออกซิเจนและอัตราการเต้นของหัวใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Mann-Whitney U test และ Independent t-test ผลการศึกษาพบว่า ทารกที่ได้รับการกระตุ้นประสาทสัมผัสการรับกลิ่นด้วยน้ำนมมารดา มีคะแนนความเจ็บปวดระยะเจาะเลือด และระยะหลังการเจาะเลือดนาที่ที่ 6 และ 7 ต่ำกว่าทารกที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนอัตราการเต้นของหัวใจขณะเจาะเลือดบริเวณส้นเท้า และทุกช่วงเวลาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในหลอดเลือดแดงระยะหลังเจาะเลือดนาทีที่ 6, 7, และ 8 สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการบรรเทาความเจ็บปวดร่วมกับการบรรเทาความ
ที่มา
รามาธิบดีพยาบาลสาร ปี 2556, September-December
ปีที่: 19 ฉบับที่ 3 หน้า 320-332
คำสำคัญ
Pain response, Breast milk, Olfactory stimulation, Heel stick, Full term infant, การกระตุ้นประสาทสัมผัสการรับกลิ่น, น้ำนมมารดา, การตอบสนองความเจ็บปวด, การเจาะเลือดบริเวณส้นเท้า, ทารกแรกเกิดครบกำหนด