การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ Ievobupivacaine กับ bupivacaine ในการทำ spinal anesthesia สำหรับการผ่าตัดคลอด
เพชรา สุนทรฐิติ*, นคนันท์ แสงดี, อินทุอร สง่าศิลป์, วราภรณ์ ประยูรหงส์, สุพิชชา ปาปวน
Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Main Building 5th floor, 270 Rama VI Road, Toong Phayathai, Ratchathewi, Bangkok 10400, Thailand; Phone: 02201-1513; E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าอุบัติการณ์ความดันเลือดต่ำที่เกิดจาก spinal anesthesia สำหรับการผ่าตัดคลอด (cesaream section) ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา hyperbaric solution มีมากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา plain solution
วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาชาที่ใช้ในการทำ spinal anesthesia ของ hyperbaric bupivacaine 10 mg กับ plain solution ของยา bupivacaine 11 mg และ levobupivacaine 11 mg ที่ให้ร่วมกับ fentanyl 10 µg ในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดทุกกลุ่ม
วัสดุและวิธีการ: เป็น prospective randomized double-blinded study โดยผ่านการยินยอมจากหน่วยจริยธรรมการวิจัยในคน สตรีตั้งครรภ์จำนวน 90 ราย ที่มี ASA physical status class I-II และยินยอมเข้าร่วมการศึกษาผ่าตัดคลอดด้วยวิธี spinal anesthesia จะถูกแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่ม H คือกลุ่มที่ได้รับ hyperbaric bupivacaine 0.5% และ fentanyl 10 µg กลุ่ม B คือกลุ่มที่ได้รับ bupivacaine 0.5% และ fentanyl 10 µg และกลุ่ม L ได้รับ levabupivacaine 0.5% และ fentanyl 10 µg โดยทำในท่านอนตะแคงขวาลง และควบคุมเวลาในการเดินยาประมาณ 30-40 วินาที หลังการทำ spinal anesthesia จะมีการประเมิน sensory และ motor block ทุก 5 นาที และผลข้างเคียงอื่นๆ เช่น ความดันเลือดต่ำ คลื่นไส้ คัน หนาวสั่น และอาการปวดศีรษะจะถูกประเมินร่วมด้วย
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้ง 3 กลุ่ม มีลักษณะประชากรไม่แตกต่างกัน ระดับการรับรู้ความเย็นที่สูญเสียไป (absence of cold sensation) และระดับการรับรู้ความเจ็บปวด (pinprick analgesia) รวมถึงระยะเวลาที่ได้การระงับความรู้สึกถึงระดับ T-4 ในกลุ่ม H สูงกว่าในกลุ่ม B และ L แต่ระดับของ motor block พบว่าไม่ต่างกันในทุกกลุ่ม ความปวดของอวัยวะภายใน (visceral pain) พบเฉพาะในกลุ่ม B ที่ระดับเล็กน้อยและระดับปานกลาง และพบว่ามีอุบัติการณ์น้อยมาก นอกจากนี้ยังพบว่าอุบัติการณ์ของความดันเลือดต่ำไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ในกลุ่ม H เกิดขึ้นร้อยละ 67 กลุ่ม B ร้อยละ 56 และกลุ่ม L ร้อยละ 50 ส่วนผลข้างเคียงอื่นๆ เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน คัน หนาวสั่น ปวดศีรษะก็ไม่แตกต่างกัน สำหรับความพึงพอใจของผู้ป่วยในแต่ละกลุ่มอยู่ในเกณฑ์ดีไม่แตกต่างกัน
สรุป: ระดับ cold sensation และระดับ pinprick analgesia รวมถึงระยะเวลาที่ใช้ในการระงับความรู้สึกถึงระดับ T4 ในผู้ป่วยกลุ่ม hyperbaric solution (bupivacaine) สูงกว่าในผู้ป่วยกลุ่ม plain solution (bupivacaine และ levohupivacaine) แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านประสิทธิภาพของการชา การระงับปวดหลังผ่าตัด และผลข้างเคียง ดังนั้น levobupivacaine สามารถใช้ทดแทน bupivacaine ได้ในการทำ spinal anesthesia
 
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2557, July ปีที่: 97 ฉบับที่ 7 หน้า 710-716
คำสำคัญ
Spinal anesthesia, Cesarean section, Bupivacaine, Levobupivacaine