การศึกษาเปรียบเทียบการหยุดให้นมขวดหลังผ่าตัดเพดานโหว่ 2 สัปดาห์และ 3 สัปดาห์
วัชระศักดิ์ จะระ
กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร จังหวัดสกลนคร
บทคัดย่อ
ความเป็นมา: การหยุดนมขวด 3 สัปดาห์หลังผ่าตัดเพดานโหว่เป็นสิ่งที่ปฏิบัติหลังการผ่าตัด แบบแผนการดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัดเพดานโหว่ยังมีความเห็นต่างกันไป การศึกษาเปรียบเทียบการหยุดนมขวด 2 และ 3 สัปดาห์ยังไม่ทำการศึกษาในประเทศไทย
วิธีการ:  ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดเพดานโหว่ ทั้งหมด 65 ราย ติดตามผลการรักษา 2 เดือนหลังการผ่าตัด กลุ่มที่ 1= 30 ราย จำกัดนมขวด 2 สัปดาห์หลังการผ่าตัดเพดานโหว่ ให้ใช้ช้อน แก้วหรือหลอดฉีดยา ในการให้นมหรืออาหาร และ กลุ่มที่ 2 = 35 ราย จำกัดนมขวด 3 สัปดาห์หลังการผ่าตัดเพดานโหว่ ให้ใช้ช้อน แก้ว หรือหลอดฉีดยาหลังจากนั้นดูดนมขวดได้ เปรียบเทียบภาวะแทรกซ้อน และน้ำหนักที่เพิ่ม 1 และ 2 เดือน
ผลการวิจัย: กลุ่มที่ 1 =30 ราย อายุเฉลี่ย 9.8 เดือน (9-16 เดือน) ผู้ชาย 16 ราย จำกัดนมขวด 2 สัปดาห์หลังการผ่าตัดเพดานโหว่ ให้ใช้ช้อน แก้วหรือหลอดฉีดยา ในการให้นมหรืออาหาร กลุ่มที่ 2 = 35 ราย อายุเฉลี่ย 10.1 เดือน (9-16 เดือน) ผู้ชาย 18 ราย จำกัดนมขวด 3 สัปดาห์หลังการผ่าตัดเพดานโหว่ ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดกลุ่มที่ 1 = 13.3% และ กลุ่มที่ 2 = 11.4% ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวหลังการผ่าตัด ที่ 2 เดือนและ 3 เดือนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ครอบครัวและผู้ดูแลเด็กมีความพอใจหลังจากให้นมขวดเร็วขึ้น
สรุป: การให้นมขวด 2 สัปดาห์ หลังการผ่าตัดสามารถทำได้ โดยมารดา สะดวกและง่ายกับการให้นมบุตรโดยไม่เพิ่มภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดเพดานโหว่
 
ที่มา
วารสารโรงพยาบาลสกลนคร ปี 2557, January-April ปีที่: 17 ฉบับที่ 1 หน้า 20-25
คำสำคัญ
Bottle-feeding, Feeding regimen, Palatoplasty, Cleft palate, การให้นมขวด, หลักเกณฑ์การให้นม, การผ่าตัดเพดานโหว่, โรคเพดานปากโหว่