ผลกระทบทางหัวใจและหลอดเลือดจากการใช้เทคนิค Combined Lumbar Plexus - Sciatic Nerve Block เพื่อระงับความรู้สึกในการผ่าตัดข้อสะโพกผู้สูงอายุเปรียบเทียบกับวิธี Spinal Block
จุฑามาศ สมชาติ*, ปราณี ลิ้นฤาษีกลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดจากการผ่าตัดข้อสะโพกผู้สูงอายุระหว่างการให้ยาชาด้วยวิธี combined lumbar-sciatic plexus block และ spinal block โดยการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มจากผู้ป่วย 100คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มโดยการใส่ซองปิดผนึก กลุ่มศึกษาใช้เทคนิค combined lumbar-sciatic plexus block และกลุ่มควบคุมใช้เทคนิค spinal blockบันทึกข้อมูลทั่วไปได้แก่ อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง โรคประจำตัว ระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัดปริมาณสารน้ำที่ได้รับ การสูญเสียเลือด ผลกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ประเมินประสิทธิภาพการระงับปวดจากระยะเวลาที่ระดับคะแนนความปวดเท่ากับหรือมากกว่า 4 หลังผ่าตัด ระดับคะแนนความปวดโดยเฉลี่ย จำนวนมอร์ฟีนที่ใช้ไปใน 24 ชั่วโมง ระยะเวลานอนโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ Chi–square, unpaired t-test จากการศึกษาพบว่าในกลุ่มศึกษามีการเปลี่ยนแปลง systolic BP, diastolic BP และ mean arterial pressure น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติไม่พบภาวะแทรกซ้อนระบบหัวใจและหลอดเลือดทั้งสองกลุ่ม ระยะเวลาที่ระดับคะแนนความปวดเท่ากับหรือมากกว่า 4 หลังผ่าตัดไม่แตกต่าง แต่ระดับคะแนนเฉลี่ย ณ เวลา 24 ชั่วโมงหลังทำหัตการของกลุ่มที่ทำการศึกษาเท่ากับ 4.08±0.83 กลุ่มควบคุมเท่ากับ 4.40±0.67 ซึ่งน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.03) ทำให้ปริมาณการใช้ยามอร์ฟี น ของกลุ่มที่ทำการศึกษาน้อยกว่า สรุปผลการศึกษา เทคนิคการใช้ยาชา combined lumbar plexus – sciatic nerve block ในการผ่าตัดข้อสะโพกผู้สูงอายุ สามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงความดันโลหิตได้ดีอาจจะช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนในระบบหัวใจและหลอดเลือด ลดระดับความปวดและความต้องการยาแก้ปวดใน 24 ชั่วโมง
ที่มา
วารสารวิชาการสาธารณสุข ปี 2557, September-October
ปีที่: 23 ฉบับที่ 5 หน้า 879-886
คำสำคัญ
Spinal block, Combined lumbar plexus-sciatic nerve block, cardiovascular effects, เทคนิค combined lumbar plexus-sciatic nerve block, เทคนิค spinal block, ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด