การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาโดยการฟอกเลือดและล้างไตทางช่องท้องโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา
กิติมา เศรษฐ์บุญสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Analytical Research) เพื่อการเปรียบเทียบคุณภาพ
ชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการบำบัดแทนไตด้วยการฟอกเลือดและล้างไตทางช่องท้อง
ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา เป็นการศึกษาประชากรกลุ่มผู้ป่วยฟอกเลือด (Hemodialysis: HD) 49 คน และผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง (Peritoneal dialysis: PD) 38 คน ใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
ผ่านการตรวจสอบความตรงจากผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
(KDQOL-36) ซึ่งมีค่า Reliability ทั้งฉบับมากกว่า 0.700 (Range 0.706-0.827) และมีค่า Intraclass correlation coefficients ระหว่าง 0.713-0.999 เก็บข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม 2556 -กุมภาพันธ์ 2557 วิเคราะห์ข้อมูล โดยการคำนวณหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบความแตกต่างของคุณภาพชีวิตระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Independent T test
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีคุณลักษณะทั่วไปคล้ายกัน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ( 55.2%) มีอายุระหว่าง 41-59 ปี (46.0%) สถานภาพสมรสคู่ (80.5%) จบระดับประถมศึกษา (62.1%) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท (47.1%) มีค่าคะแนนสถานะสุขภาพเฉลี่ย 67.29 คะแนน (SD=17.77) ระยะเวลาที่ได้รับการบำบัดระหว่า ง 12-60 เดือน (62.1 %) โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคร่วมมากที่สุด (51.7 %) ไม่เคยมีประวัติการติดเชื้อ (73.6 %) มีปริมาณปัสสาวะเฉลี่ยต่อวัน ต่ำกว่า 500 ซีซี (54.9%) ต้องมีคนพามารับบริการ (51.7 %) ด้านคุณภาพชีวิต พบว่า โดยรวมมีเพียง 2 ด้านที่มีค่าคะแนนสูงเกินครึ่ง ส่วนด้าน Burden of kidney disease และด้าน Physical Health Composite มีค่าคะแนนต่ำสุด แต่กลุ่ม HD มีค่าคะแนนคุณภาพชีวิตสูงกว่ากลุ่ม PD ถึง 3 ด้านและมีค่าคะแนนแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้าน Symptom/problem list (p-value=0.027) ดังนั้น จึงควรมีพัฒนาระบบบริการที่ลดภาระโรคและปัญหาสุขภาพกาย โดยเฉพาะกลุ่ม PD และเพิ่มความสามารถในการดูแลตนเองมากขึ้น
ที่มา
ยโสธรเวชสาร ปี 2557, January-June
ปีที่: 16 ฉบับที่ 1 หน้า 18-24
คำสำคัญ
Quality of life, end stage renal disease, ด้านคุณภาพชีวิต, ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย