ปัญหาจิตสังคมและคุณภาพชีวิตของเด็กที่เป็นโรคไตเรื้อรัง
ธวัชชัย ดำริห์, อรวรรณ เลาห์เรณู*, วัฒนา ชาติอภิศักดิ์, เสาวลักษณ์ โอภาสถิรกุล
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินปัญหาจิตสังคมในเด็กที่เป็นโรคไตเรื้อรังเปรียบเทียบกับเด็กกลุ่มควบคุม และประเมินความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาจิตสังคมกับคุณภาพชีวิตในเด็กที่เป็นโรคไตเรื้อรัง
วิธีการวิจัย: เป็นการศึกษา cross-sectional ในเด็กที่เป็นโรคไตเรื้อรังและเด็กสุขภาพดี โดยใช้แบบประเมิน
Strengths and Diffi culties Questionnaire (SDQ) และ Pediatric Quality of Life (PedsQL) เพื่อประเมินปัญหาจิตสังคมและคุณภาพชีวิต โดยเด็กและผู้ปกครองจากทั้งสองกลุ่มตอบแบบประเมินทั้งสองชนิด
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจำนวน 25 คนและเด็กกลุ่มควบคุมสุขภาพดีจำนวน 25 คนเข้าร่วมการวิจัยนี้ สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคไตเรื้อรังเป็นความผิดปกติของไตและทางเดินปัสสาวะแต่กำเนิด และโรคไต glomerular พบว่าคะแนนเฉลี่ยของแบบประเมินปัญหาจิตสังคม SDQ ที่เด็กตอบด้วยตนเองโดยเฉพาะด้านอาการทางอารมณ์ของเด็กที่เป็นโรคไตเรื้อรังสูงกว่าคะแนนของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p =0.02) คะแนน SDQ ในเด็กที่เป็นโรคไตเรื้อรังที่ตอบโดยผู้ปกครองสูงกว่าหลายด้านโดยเฉพาะคะแนนรวมและด้านอาการทางอารมณ์ (p=0.02 and 0.01, ตามลำดับ) ส่วนคะแนนคุณภาพชีวิต PedsQL ที่ตอบโดยผู้ปกครองในกลุ่มเด็กที่เป็นโรคไตเรื้อรังต่ำกว่าคะแนนของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญโดยเฉพาะคะแนนรวม ด้านจิตสังคม และด้านสังคม (p=0.01, 0.02, 0.01 ตามลำดับ) พบว่ามีความสัมพันธ์เล็กน้อยและไปในทางตรงข้ามกันระหว่างปัญหาจิตสังคมและคุณภาพชีวิตในเด็กที่เป็นโรคไตเรื้อรัง (r=-0.47, p <0.05)
สรุปผลการศึกษา: เด็กที่เป็นโรคไตเรื้อรังเสี่ยงต่อปัญหาจิตสังคมโดยเฉพาะปัญหาด้านอารมณ์และมีแนวโน้มที่มีคุณภาพชีวิตต่ำกว่า ดังนั้น การให้การช่วยเหลือทางด้านจิตสังคมอาจมีความจำเป็นเพื่อให้ผลการรักษาและคุณภาพชีวิตดีขึ้นสำหรับการปรับตัวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ได้อย่างสมบูรณ์
 
ที่มา
เชียงใหม่เวชสาร ปี 2557, July-September ปีที่: 53 ฉบับที่ 3 หน้า 127-134
คำสำคัญ
Quality of life, children, คุณภาพชีวิต, เด็ก, คุณภาพชี่วิต, psychosocial, chronic kidney disease, จิตสังคม, โรคไตเรื้อรัง