การใช้ยา metoclopramide เปรียบเทียบกับ metoclopramide ร่วมกับ dexamethasone ในการป้องกันการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดถุงนํ้าดีผ่านกล้องส่อง: การศึกษาแบบสุ่มที่มีตัวควบคุม ปกปิดสองทาง
วาสนา โกเอี่ยม*, ไตรจักร ซันดู, สหัทยา ไพบูลย์วรชาติ, ไพศาล พงศ์ชัยฤกษ์, สัณหวิชญ์ จันทร์รังสี, อานนท์ โชติรสนิรมิต, นเรนทร์ โชติรสนิรมิต, กำธน จันทร์แจ่ม, ธิดารัตน์ จิรพงศ์เจริญลาภ
Department of Surgery, Faculty of Medicine, Chiang Mai University, Chiang Mai 50200, Thailand; Phone: +66-53-945532-4, Fax: +66-53-946139; E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: ภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดเป็นปัญหาที่สำคัญในการผ่าตัดผ่านกล้องส่อง
วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการใช้ยา metoclopramide และmetoclopramide ร่วมกับ dexamethasone ในการป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดถุงนํ้าดีผ่านกล้องส่อง
วัสดุและวิธีการ: ผู้ป่วยจำนวน 100 ราย อายุ 18-75 ป ี ที่มี ASA ระดับ 1-2 ที่ได้รับการผ่าตัดถุงน้ำดีผ่า นกล้องส่องในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จะได้รับคัดเลือกเข้าในการศึกษานี้ ซึ่งเป็นการศึกษาแบบสุ่มที่มีตัวควบคุม ปกปิดสองทาง (แบบคู่ขนาน) ผู้ป่วยดังกล่าวจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยวิธีสุ่มคัดเลือกแบบ block of four กลุ่มศึกษาจะได้รับ dexamethasone ขนาด 8 มิลลิกรัม และ metoclopramide ขนาด 10 มิลลิกรัม อย่างละ 1 syringe ส่วนกลุ่มควบคุมจะได้รับ metoclopramide ขนาด 10 มิลลิกรัม และนํ้ากลั่นบริสุทธิ์ปริมาณ 1.6 มิลลิลิตร อย่างละ 1 syringe โดยยาทั้ง 2 กลุ่ม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำในระหว่างการ
ผ่าตัดขณะตัดถุงนํ้าดีเสร็จ ทั้งผู้นิพนธ์ วิสัญญีแพทย์ผู้ให้ยา ผู้ป่วยที่ได้รับยา และผู้ประเมินผลของการใช้ยา ไม่มีผู้ใดทราบว่าผู้ป่วยได้รับยาชนิดใด จากนั้นประเมินการเกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียนในช่วง 2, 4, 6, 12, 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด และขณะออกจากโรงพยาบาล โดยคะแนนของการคลื่นไส้อาเจียนมี 4 ระดับ คือ 0-3 (0 = ไม่มีคลื่นไส้หรืออาเจียนเลย, 1 = มีคลื่นไส้อย่างเดียว, 2 = มีคลื่นไส้และอาเจียน 1 ครั้ง, 3 = อาเจียนซ้ำตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป)
ผลการศึกษา: วิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ป่วยที่ถูกสุ่มทั้งหมด กลุ่มละ 50 ราย ลักษณะพื้นฐานของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ไมมี่ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มที่ได้รับ dexamethasone ร่วมกับ metoclopramide สามารถป้องกันการเกิดคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดได้ดีกว่า (odds ratio 0.25, 95% CI 0.11-0.55, p = 0.001) การนอนโรงพยาบาลหลังผ่าตัดในกลุ่มที่ได้รับยาทั้ง 2 ชนิดร่วมกันและกลุ่มที่ได้รับ metoclopramide มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ 1 วัน: 47 ราย (94%) และ 37 ราย (74%), มากกว่า 1 วัน: 3 ราย (6%) และ 13 ราย (26%) ตามลำดับ (p = 0.012) และไม่พบภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดในทั้ง 2 กลุ่ม
สรุป: การให้ยา dexamethasone ร่วมกับ metoclopramide ฉีดเข้าหลอดเลือดดำมีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด รวมทั้งลดระยะเวลานอนโรงพยาบาลหลังผ่าตัด
 
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2558, March ปีที่: 98 ฉบับที่ 3 หน้า 265-272
คำสำคัญ
dexamethasone, postoperative nausea and vomiting (PONV), Metoclopramide, Laparoscopic cholecystectomy (LC)