ผลทางกายภาพและสมรรถภาพสมองหลังกายบริหารด้วยท่าฤาษีดัดตน: การศึกษานำร่องเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
โลกเชษฐ์ ธนสุกาญจน์, พสิษฐ์ เนตรอาภา, รณกร คงสกนธ์, มัชฌิมา เชาว์เสาวภา, วรพล โชติวงศ์วชิร, ดุษฎี เซี่ยงหลอ, ภัทรชัย กีรติสิน, จักรพงศ์ นะมาตร์, วราลักษณ์ ศรีนนท์ประเสริฐ, อัครินทร์ นิมมานนิตย์, แม้นมาศ วรรณภูมิ, ทวี เลาหพันธ์, วิไล คุปต์นิรัติศัยกุล*Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, 2 Prannok Road, Bangkok 10700, Thailand; Phone: +66-2-4197511, Fax: +66-2-4114813; E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อประเมินผลทางกายภาพต่อข้อต่อหัวไหล่ และผลต่อสมรรถภาพการทำงานของสมองหลังกายบริหารด้วยท่าฤาษีดัดตน ซึ่งยังขาดหลักฐานเชิงประจักษ์ในส่วนของประโยชน์จากกายบริหารดังกล่าว
วัสดุและวิธีการ: ผู้ที่ยินยอมเข้าร่วมการศึกษา 37 คน ซึ่งทำงานประจำหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมงต่อวันถูกแบ่งเข้าในกลุ่มทดลอง (19 คน) และกลุ่มควบคุม (17 คน) แบบสุ่มผลทางกายภาพต่อข้อต่อหัวไหล่ประเมินโดยการวัดพิสัยของข้อต่อหัวไหล่และแบบทดสอบการทำงานของข้อต่อหัวไหล่ สมรรถภาพสมองทดสอบโดยใช้การทดสอบ verbal fluency, Trail Making B, และ Digit span ผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งสองกลุ่มถูกประเมินด้วยการทดสอบทั้งหมดเมื่อเข้าร่วมและสิ้นสุดการศึกษาด้วยผู้ประเมินกลุ่มเดียวกันซึ่งไม่ทราบว่าผู้เข้าร่วมการศึกษาอยู่ในกลุ่มใด กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมในการปฏิบัติกายบริหารฤาษีดัดตนโดยท่ากายบริหาร 3 ท่า (ใช้ระยะเวลาครั้งละ 1 ชั่วโมง เป็นเวลา 4 วัน โดยผู้นำกายบริหารที่ได้รับการฝึกมา) ก่อนการประเมินครั้งสุดท้าย
ผลการศึกษา: มีเพียงการงอข้อศอกของข้อต่อหัวไหล่ซ้ายและขวาที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม (p = 0.006 และ 0.010 ตามลำดับ) เมื่อทดสอบด้วยการวิเคราะห์ ANCOVA โดยใช้ค่าพื้นฐานของทั้งสองกลุ่มเป็นตัวแปรร่วม ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของตัวแปรอื่นๆ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างทั้งสองกลุ่มและไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากกายบริหารระหว่างการศึกษาในครั้งนี้
สรุป: กายบริหารฤาษีดัดตนอาจช่วยเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อต่อได้อย่างปลอดภัย โดยพบประโยชน์ต่อการทำงานของข้อต่อและมีความเป็นไปได้ที่จะมีสมรรถภาพของสมอง ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมที่มีผู้เข้าร่วมศึกษาที่เพียงพอ และระยะเวลาที่นานขึ้น
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2558, March
ปีที่: 98 ฉบับที่ 3 หน้า 306-313
คำสำคัญ
Exercise, Range of motion, Rue-si-dad-ton, Office worker, Cognition