ผลของโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่อภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มะลิสา งามศรี*, นิดยา ตากวิริยะนันท์, ศุภรา เชาว์ปรีชาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
บทคัดย่อ
ภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นที่กระทำผิดในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน อาจเกิดจากความคิด ทางลบ การขาดทักษะทางสังคมและการขาดทักษะการแก้ปัญหา การช่วยเหลือเพื่อลดภาวะซึมเศร้า เป็นสิ่งสำคัญ การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการบำบัดความคิดและ พฤติกรรมต่อภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นไทยที่กระทำผิด กลุ่มตัวอย่างที่มีภาวะซึมเศร้าในระดับ ปานกลาง 60 ราย 2 แห่งในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถูกสุ่ม เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองจำนวน 30 ราย ได้รับโปรแกรมจำนวน 8 สัปดาห์ ร่วมกับการดูแลตามปกติของศูนย์ฝึกฯ ส่วนกลุ่มควบคุมจำนวน 30 ราย ได้รับสุขภาพจิตศึกษาราย กลุ่ม1 ครั้งร่วมกับการให้การปรึกษารายบุคคลตามคำขอ และการดูแลตามปกติของศูนย์ฝึกอบรม เด็กและเยาวชน การประเมินผลกระทำโดยใช้แบบสอบถามปัญหาสุขภาพเพื่อประเมินภาวะซึมเศร้า ในประชากรไทย โดยวัด 3 ครั้ง คือ ก่อนเริ่มโปรแกรม หลังโปรแกรมสิ้นสุดทันที และหลังโปรแกรม สิ้นสุด 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำผลการศึกษาพบว่าคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสิ้นสุดทันทีและ หลังการทดลองสิ้นสุด 4 สัปดาห์ ต่ำกว่าก่อนการทดลองและต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p<0.01)
ผลการศึกษานี้สนับสนุนการใช้โปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมเพื่อลดภาวะซึม เศร้าของวัยรุ่นในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน และการขยายผลเพื่อศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มตัวอย่าง ที่มีขนาดใหญ่ต่อไป
ที่มา
พยาบาลสาร ปี 2557, October-December
ปีที่: 41 ฉบับที่ 4 หน้า 36-47
คำสำคัญ
Depression, ภาวะซึมเศร้า, การบำบัดความคิดและพฤติกรรม, Cognitive Behavior Therapy, Thai Offending Youths, วัยรุ่นในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน