การศึกษาเปรียบเทียบการตกเลือดหลังคลอด โดยการรักษาแบบ Active management และ Expectant management ในระยะที่ 3 ของการคลอด โรงพยาบาลบุรีรัมย์
เบญญาภา วิทยาไพโรจน์
กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลบุรีรัมย์
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: การตกเลือดหลังคลอดเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มารดาเสียชีวิต ซึ่งสาเหตุของการตกเลือดหลังคลอดส่วนใหญ่เกิดจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี แม้ในปัจจุบันโรงพยาบาลบุรีรัมย์ได้นำเทคนิคการช่วยการคลอดแบบก้าวหน้าในระยะที่ 3 ของการคลอดมาใช้ แต่ยังพบอัตราการตกเลือดหลังคลอดสูง
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาแบบ Active management และ Expectant management ในระยะที่ 3 ของการตลาด ในเรื่องปริมาณการเสียเลือดหลังคลอด การตกเลือดหลังคลอด ระยะเวลาที่ใช้ในการคลอด และอาการแทรกซ้อนหลังคลอดภายใน 24 ชั่วโมง
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบทดลอง (Experimental research) ชนิด Clinical trial
กลุ่มตัวอย่าง: ผู้มาคลอดปกติในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ตั้งแต่ 1 เมษายน ถึง กรกฎาคม 2550
ผลการศึกษา: ผู้คลอดทั้งหมด 189 คน ใช้การสุ่มเข้ากลุ่ม 3 กลุ่มๆ ละ 63 คน กลุ่มตัวอย่างมีลักษณะข้อมูลส่วนบุคคลไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปริมาณการสูญเสียเลือดเฉลี่ยจาการชั่งน้ำหนัก 308.05, 299.10 มิลลิลิตร ในกลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 2 และกลุ่มควบคุมตามลำดับ ปริมาณการสูญเสียเลือดเฉลี่ยจากการคาดคะเน 205.36, 201.48, 217.48 มิลลิลิตรในกลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 2 และกลุ่มควบคุมตามลำดับ ใช้ระยะเวลาในการคลอดระยะที่ 3 เฉลี่ย 5.50, 6.35, 6.14 นาที ในกลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 2 และกลุ่มควบคุม ตามลำดับ ความแตกต่างของค่าอีมาโตคริตก่อนคลอดและหลังคลอด 24 ชั่วโมง เฉลี่ยร้อยละ 1.37, 3.97, 3.77 ในกลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 2 และกลุ่มควบคุมตามลำดับ การหลังตกเลือดหลังคลอดเฉลี่ยร้อยละ 12.6, 7.94, 7.94 ในกลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 2 และกลุ่มควบคุมตามลำดับ
สรุป: ปริมาณการสูญเสียเลือดและระยะเวลาในการคลอดระยะที่ 3 ค่าแตกต่างฮีมาโตคริตก่อนคลอดและหลังคลอด 24 ชั่วโมง การตกเลือดหลังอาการแทรกซ้อนหลังคลอดภายใน 24 ชั่วโมง ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงควรพัฒนาการช่วยคลอดแบบก้าวหน้าในระยะที่ 3 ของการคลอดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยทำหัตถการนี้โดยผู้ทำคลอดที่มีความชำนาญ
 
ที่มา
วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ปี 2551, January-April ปีที่: 23 ฉบับที่ 1 หน้า 527-535
คำสำคัญ
Expectant management, Postpartum hemorrhage, Third stage of labor, Active management