การดื่มน้ำขิงร่วมกับกดจุดลดคลื่นไส้อาเจียนรุนแรงในสตรีตั้งครรภ์
ละมุล คงเพชร
โรงพยาบาลหาดใหญ่
บทคัดย่อ
บทนำ: สตรีตั้งครรภ์ที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนรุนแรงจะมีความทุกข์ทรมานมาก มักจะเกิดในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ การดื่มน้ำขิงและการกดจุดเป็นแพทย์ทางเลือกหนึ่งที่ใช้ในการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่อาการคลื่นไส้รุนแรงเพื่อลดระยะวันนอน ลดความรุนแรงและลดการกลับมารักษาซ้ำ และยังช่วยเสริมแผนการพยาบาลและการรักษาแพทย์แผนปัจจุบัน รวมทั้งลดค่าใช้จ่ายทั้งภาครัฐและตัวผู้ใช้บริการ
วัตถุประสงค์: ศึกษาผลการใช้น้ำขิงร่วมกับการกดจุดในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะคลื่นไส้อาเจียนรุนแรง
วิธีการศึกษา: วิจัยเชิงทดลอง  (Randomized control trial, unblind) แบ่งกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม โดยใช้ sealed non-tranparent envelopes) เป็นกลุ่มละ 23 ราย เป็นสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะคลื่นไส้อาเจียนรุนแรงรับไว้รักษาตัวในหอผู้ป่วยนรีเวช โรงพยาบาลหาดใหญ่ ระยะเวลาศึกษา เดือนพฤษภาคม 2554 – กรกฎาคม 2555 วิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลทั่วไป โดยแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระยะวันนอน/ความรุนแรงของการคลื่นไส้อาเจียน/อัตราการ Re-admission ใช้สถิติ Chi2, t-test และ Wilcoxon signed-ranks test
ผลการศึกษา: เปรียบเทียบความรุนแรงพบว่า กลุ่มทดลองมีความรุนแรงในการคลื่นไส้อาเจียนน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.009) เปรียบเทียบระยะวันนอนพบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P < 0.211) เปรียบเทียบอัตราการนอนโรงพยาบาลซ้ำ พบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p < 0.236๗
สรุป: การดื่มน้ำขิงร่วมกับการกดจุดเมื่อนำมาใช้ร่วมกับแผนการพยาบาลและแผนการรักษาของแพทย์แผนปัจจุบันสามารถลดความรุนแรงในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะคลื่นไส้อาเจียนรุนแรงได้
 
ที่มา
วารสารวิชาการเขต 12 ปี 2557, September-December ปีที่: 25 ฉบับที่ 3 หน้า 17-22
คำสำคัญ
Acupressure, ginger ale, pregnant women with hyperemesis gravidarum, nursing care plan, medical treatment plan, น้ำขิง, กดจุด, สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะคลื่นไส้อาเจียนรุนแรง, แผนการพยาบาล, แผนการรักษาแผนปัจจุบัน