ผลของการนวดและประคบสมุนไพรเพื่อบำบัดเสริมการรักษาต่ออาการปวดศีรษะไมเกรนและความตึงตัวของกล้ามเนื้อในผู้ที่เป็นไมเกรน
ศิริศักดิ์ ศรีสังวรณ์*, ลดาวัลย์ อุ่นประเสริฐพงศ์ นิชโรจน์, ์ฺนพวรรณ เปียซื่อ
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่ม เพื่อเปรียบเทียบอาการปวดศีรษะไมเกรนและความตึงตัวของกล้ามเนื้อของกลุ่มทดลอง ระหว่างก่อนกับหลังการทดลอง และระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่เป็นไมเกรนซึ่งมารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมาสุขภาพตำบลห้วยยาง อำเภอทับสะแก  จังหวดประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างวันที่ 3 สิงหาคม ถึงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556 จำนวน 60 คน คัดเลือกตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบเป็นระบบ กลุ่มละ 30 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับยา cafergot 1 mg. และ flunarizine 5 mg. ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารร่วมกับการนวดและประคบสมุนไพรวันละ 1 ครั้งๆ ละ 40 นาที 3 วันในขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับยา cafergot 1 mg. และ flunarizine 5 mg. ครั้งละ 1 เม็ดวันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร 3 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยอุปกรณ์การนวดและประคบสมุนไพร คู่มือการนวดและประคบสมนุ ไพร เครื่องอี เอ็ม จี ไบโอฟีดแบค แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินอาการปวดศีรษะไมเกรน แบบบันทึกความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และแบบบันทึกการรับประทานยา ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 3สิงหาคม ถึงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ paired t-test และ independent t-test
 
ผลการวิจัยพบว่าหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยอาการปวดศีรษะไมเกรนและความตึงตัวของกล้ามเนื้อน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 11.010, p < .001 และ t = 6.850, p < .001ตามลำดับ) พบว่าค่าเฉลี่ยอาการปวดศีรษะไมเกรนและความตึงตัวของกล้ามเนื้อหลังการทดลองวันที่ 1 และ 2 น้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และพบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยอาการปวดศีรษะไมเกรนและความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 13.760, p < .001 และ t =12.950, p < .001 ตามลำดับ)
จากผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการนวดและประคบสมุนไพรร่วมกับการใช้ยา สามารถบรรเทาอาการปวดศีรษะไมเกรนและช่วยลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อได้ จึงควรพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติและนำไปใช้กับผู้ที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเป็นองค์รวมต่อไป
 
ที่มา
วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ปี 2558, September-February ปีที่: 26 ฉบับที่ 1 หน้า 39-52
คำสำคัญ
migraine headache, Complementary medicine, การแพทย์แบบผสมผสาน, Massage and herbal compression, Muscle tension, การนวดและประคบสมุนไพร, ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ, อาการปวดศีรษะไมเกรน