การศึกษาเปรียบเทียบระดับความปวดจากการผ่าตัดต้อกระจกแบบแผลเล็กโดยการหลอดยาชาระหว่าง prechop manual phacofragmentation และ phacoemulsification
พิพัฒน์ คงทรัพย์*, เชี่ยวชาญ วิริรยะลัพภะ, พิพัฒน์ คงทรัพย์, เชี่ยวชาญ วิริรยะลัพภะDepartment of Ophthalmology, Prapokklao Hospital, Chantaburi 22000, Thialand. Phone: 039-324-975 ext. 1450, 081-632-2668, Fax: 039-324-861, E-mail: [email protected], [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความปวดจากการผ่าตัดต้อกระจกแบบแผลเล็กโดยการหยอดยาชาระหว่าง prechop manual phacofragmentation และ phacoemulsificationวิธีการศึกษา: การศึกษาไปข้างหน้าเปรียบเทียบแบบสุ่มวัสดุและวิธีการ: ผู้วิจัยทำการศึกษาในผู้ป่วย 100 รายที่มารับการผ่าตัดต้อกระจก โดยผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดด้วยวิธี prechop manual phacofragmentation จำนวน 50 ราย และได้รับการผ่าตัดด้วยวิธี phacoemulsification จำนวน50 ราย ผู้ป่วยทุกรายได้รับการผ่าตัดด้วยการหยอดยาชา และได้รับการประเมินระดับความปวดในขณะหยอดยาชา, ขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด ส่วนแพทย์ผู้ผ่าตัด จะประเมินความร่วมมือในการผ่าตัดและประเมินภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดผลการศึกษา: คะแนนความปวดเท่ากับ 1.64 ± 1.48 (SD) ในกลุ่มแรก และเท่ากับ 0.92 ± 1.34 (SD) ในกลุ่มที่สองซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .001) แต่ไม่มีความแตกต่างกันของคะแนนความปวดในขณะหยอดยาชา (p = .077) และหลังผ่าตัด (p = .221) และไม่มีความแตกต่างของความร่วมมือในการผ่าตัดของผู้ป่วย (p = .446) และภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดสรุป: ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกโดยวิธี prechop manual phacofragmentation มีระดับความปวดมากกว่า กลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดโดยวิธี phacoemulsification เล็กน้อยแต่ไม่พบความแตกต่างของความร่วมมือในการผ่าตัดของผู้ป่วยและภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2549, July
ปีที่: 89 ฉบับที่ 7 หน้า 959-966
คำสำคัญ
Phacoemulsification, pain score, Topical anesthesia, Small incision cataract surgery, Manual phacofragmentation