การศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบต่อระบบไหลเวียนเลือดจากการใช้ยาดมสลบกับยาสลบทางหลอดเลือดดำในการระงับความรู้สึกโดยใช้หน้ากากครอบกล่องเสียง
วริยา สุขุประการ*, ปรางค์มาลี ลือชารัศมี, ฐิติพันธุ์ โสตถิโสภาDepartment of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Chiang Mai University, Chiang Mai 50200, Thailand; Phone: +66-53-945522, Fax: +66-53-945526; E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจ และแรงดันเลือด ในผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกโดยใช้หน้ากากครอบกล่องเสียง ด้วยเทคนิคการใช้ยาดมสลบหรือยาสลบทางหลอดเลือดดำเพียงอย่างเดียว
วัสดุและวิธีการ: ทำการศึกษาในผู้ป่วย 100 ราย อายุตั้งแต่ 16-60 ปี โดยสุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่ม V นำสลบด้วยยาดมสลบซีโวฟูเรน เข้มข้นร้อยละ 8 จนผู้ป่วยหลับ แล้วช่วยหายใจต่อด้วยความเข้มข้น ร้อยละ 5 นาน 5 นาที จึงใส่หน้ากากครอบกล่องเสียง กลุ่ม T นำสลบด้วยยาโพรโพฟอล โดยตั้งค่าความเข้มข้นของยาที่สมอง 8 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร จึงใส่หน้ากากครอบกล่องเสียง บันทึกค่าแรงดันเลือดและอัตราการเต้นของหัวใจ ก่อนให้ยา ก่อนและหลังการใส่หน้ากากครอบกล่องเสียง และทุก 2 นาที หลังจากใส่หน้ากากครอบกล่องเสียงจนเริ่มผ่าตัด
ผลการศึกษา: เปรียบเทียบค่าการเปลี่ยนแปลงของแรงดันเลือดและอัตราการเต้นของหัวใจจากค่าพื้นฐานของผู้ป่วยแต่ละรายพบว่าค่าแรงดันเลือดตัวบนในกลุ่ม T ลดลงมากกว่ากลุ่ม V อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในเกือบทุกช่วงเวลา ค่าแรงดันเลือดตัวล่างในกลุ่ม T ลงลดมากกว่ากลุ่ม V ในนาทีที่ 8 และ 10 หลังใส่หน้ากากครอบกล่องเสียง อุบัติการณ์ค่าแรงดันเลือดตัวบนตกมากกว่า ร้อยละ 20 ของค่าพื้นฐานในกลุ่ม T มีมากกว่ากลุ่ม V อย่างมีนัยสำคัญ ไม่พบความแตกต่างในการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจระหว่างกลุ่ม พบการไอระหว่างใส่หน้ากากครอบกล่องเสียง 8 ราย (ร้อยละ 16) ในกลุ่ม T และ 3 ราย (ร้อยละ 6) ในกลุ่ม V
(p = 0.11)
สรุป: การนำสลบด้วยยาโพรโพฟอลโดยตั้งค่าความเข้มข้นของยาที่สมอง 8 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ทำให้ค่าแรงดันเลือดตัวบนตํ่าลงมากกว่าวีธีการนำสลบด้วยซีโวฟูเรน เข้มข้นร้อยละ 8 อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งสองเทคนิคสามารถใส่หน้ากากครอบกล่องเสียงได้อย่างราบรื่น และไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2558, April
ปีที่: 98 ฉบับที่ 4 หน้า 388-393
คำสำคัญ
TIVA, Total intravenous anesthesia, laryngeal mask airway, VIMA, LMA, Volatile induction and maintenance of anesthesia