การศึกษาเปรียบเทียบผลสำเร็จของการใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดปิดครอบกล่องเสียงแบบi-gel®กับlaryngeal mask airway Unique ในผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึก โดยไมได้ใช้ยาหย่อนกล้ามเนื้อ
อรรัตน์ กาญจนวนิชกุล*, สมพล ตั้งกิจวณิชย์เจริญ, มลิวัลย์ ออฟูวงศ์
ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลียสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: ศึกษาอัตราความสำเร็จในการใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดปิดครอบกล่องเสียงแบบ i-gel®
เปรียบเทียบกับ laryngeal mask airway Unique (LMA-U)
แบบวิจัย: การศึกษาไปข้างหน้าแบบสุ่มไขว้ข้ามกลุ่ม
วัสดุและวิธีการ: รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่มาผ่าตัดและรับการระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว จำนวน 28 ราย แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่มด้วยวิธีสุ่ม กลุ่มแรกรับการใส่อุปกรณ์แบบ LMA-U ก่อนแล้วจึงใส่แบบ i-gel® ส่วนกลุ่มที่สองจะสลับลำดับอุปกรณ์กัน บันทึกข้อมูลซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย ผลสำเร็จของการใส่อุปกรณ์ เวลาที่ใช้ในการใส่ ความยากง่าย และภาวะแทรกซ้อน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้โปรแกรม R 2.11.1 ให้ค่า p-value < 0.05 เป็นค่าที่มีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลการศึกษา: อัตราความสำเร็จในการใส่ i-gel® มากกว่า LMA-U ในการใส่ครั้งแรก (ร้อยละ 89.3 และร้อยละ 67.9 ตามลำดับ) แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (ค่า p=0.077) และอัตราความสำเร็จในการใส่ i-gel® มากกว่า LMA-U ในการใส่สองครั้ง (ร้อยละ 92.9 และร้อยละ 85.7 ตามลำดับ) แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (ค่า p= 0.617) และเวลาที่ใช้ในการใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิด i-gel® เท่ากับ 17.62 วินาที (8-70 วินาที) และ LMA-U ได้เท่ากับ 29.71 วินาที (10-40 วินาที) ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติ (ค่า p=0.001) และความยากง่ายของการใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจทั้งสองชนิดไม่แตกต่างกัน
สรุป: ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในอัตราความสำเร็จในการใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจแบบ i-gel® เปรียบเทียบกับ LMA-U แต่ i-gel® สามารถใส่สำเร็จได้เร็วกว่า LMA-U อย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น i-gel®จึงเหมาะเป็นอุปกรณ์ช่วยหายใจในผู้ป่วยที่มารับการระงับความรู้สึกแบบทั้งตัวที่ทำนายว่ามีภาวะ difficult airway ที่ต้องการลดเวลาการใส่อุปกรณ์ เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะ hypoxia
 
ที่มา
สงขลานครินทร์เวชสาร ปี 2558, January-February ปีที่: 33 ฉบับที่ 1 หน้า 53-61
คำสำคัญ
General anesthesia, การระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว, crossover trial, LMA-Unique, i-gel®, success rate, การศึกษาแบบไขว้ข้ามกลุ่ม, ผลสำเร็จ, อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดปิดครอบกล่องเสียง