การศึกษาเปรียบเทียบการใช้กลุ่มมิตรภาพบำบัดในผู้ที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงที่มีทวารเทียม
อภรชา ลำดับวงค์*, ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม, มณี อาภานันทิกุล, ชูเกียรติ วิวัฒน์วงศ์เกษม, Nancy S. RedekerRamathibodi School of Nursing, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Thailand; E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
การเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งก่อให้เกิดความต้องการการสนับสนุนจากสังคมที่จะช่วยให้บุคคลผู้เจ็บป่วยสามารถเผชิญกับโรคได้ ในประเทศไทยมีการจัดตั้งกลุ่มมิตรภาพบำบัดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2548
เพื่อเป็นการสนับสนุนทางสังคมอีกรูปแบบหนึ่งให้กับผู้ป่วยมะเร็ง วิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบพรรณนา
เชิงเปรียบเทียบโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงถึงความแตกต่างของตัวแปร ความเครียด การประเมินภาวะ
เครียด การเผชิญความเครียด และคุณภาพชีวิตของผู้ที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และมีทวารเทียมที่เข้า
ร่วมและไม่ได้เข้าร่วมกลุ่มมิตรภาพบำบัดผู้เข้าร่วมในงานวิจัยมีจำนวน 87 คน แบ่งออกเป็นผู้ที่เคยเข้ากลุ่ม
มิตรภาพบำบัด 30คนและไม่เคยเข้ากลุ่ม 57 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป
แบบสอบถามการรับรู้ระดับความเครียด แบบประเมินการรับรู้ความเครียด แบบประเมินภาวะเครียด
แบบสอบถามวิธีเผชิญความเครียด และแบบประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ผลการ
วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ สถิติบรรยาย และ MANOVA พบว่าไม่มีความแตกต่างของ การรับรู้
ความเครียด การประเมินภาวะเครียด การเผชิญความเครียด และคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม อย่างไร
ก็ตามพบว่า คะแนนการเผชิญความเครียดในรูปแบบ การยอมรับต่อปัญหา การวางแผนเพื่อแก้ปัญหา และ
การประเมินสถานการณ์ใหม่ให้เป็นไปในทางบวก ของผู้ที่ข้าร่วมกลุ่มมิตรภาพบำบัดมีค่ามากกว่าผู้ที่ไม่ได้
เข้ากลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กิจกรรมพูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์เป็นกิจกรรมที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ชอบและคิดว่ามีประโยชน์กิจกรรมอื่นๆ อาจลดทอนความสำคัญของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ลงผลการวิจัยครั้งนี้ช่วยให้เกิดความเข้าใจผู้ที่ป่วยด้วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และมีทวารเทียมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องความเครียด การเผชิญความเครียด คุณภาพชีวิตและแหล่งช่วยเหลือสนับสนุนทางสังคมที่
ผู้ป่วยได้รับ อีกทั้งยังได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากลุ่มมิตรภาพบ
ที่มา
Pacific Rim International Journal of Nursing Research ปี 2557, April-June
ปีที่: 18 ฉบับที่ 2 หน้า 138-151
คำสำคัญ
Quality of life, คุณภาพชีวิต, Social support, กลุ่มมิตรภาพบำบัด, COPING, Stress, Colorectal cancer, คุณภาพชี่วิต, การเผชิญความเครียด, Friendship therapy groups, มะเร็งลำไส้ใหญ่, ลำไส้ตรง