การศึกษาประสิทธิภาพของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
สุกัลยา กฤษณเกรียงไกร*, จินตนา ตันหยง, สุวัฒน์ จิตรดำรงค์, รุจิรวรรณ บุปผาพรหม, วิภาพร ตัณฑ์สุระสาขากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บทคัดย่อ
ที่มา เป็นที่ยอมรับกันว่าการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดสามารถลดอาการของโรค และเพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ แต่การศึกษาในรูปแบบการออกกาลังกายเองที่บ้านยังมีน้อย
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่ออกแบบขึ้นต่อสมรรถภาพปอด ระดับความเหนื่อย และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
วิธีการวิจัย ศึกษาในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จานวน 46 คน ที่มีอาการคงที่และได้รับการรักษาทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง ทาการสุ่มแยกอาสาสมัครออกเป็น กลุ่มควบคุมซึ่งได้รับการรักษาพื้นฐาน และกลุ่มออกกาลังกายซึ่งได้รับการรักษาพื้นฐานร่วมกับการออกกาลังกายตามโปรแกรมที่บ้าน 5 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ผู้เข้าร่วมวิจัยได้รับการตรวจวัดสมรรถภาพปอด ประเมินระดับความเหนื่อยด้วย Borg scale และตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตด้วย St. George respiratory questionnaire (SGRQ) ก่อนและหลังรับโปรแกรมการออกกาลังกาย
ผลการศึกษา ค่าสมรรถภาพปอด ระดับความเหนื่อย และคุณภาพชีวิต ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติทั้งเมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการออกกาลังกาย และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม สรุปผลการศึกษา การฝึกด้วยโปรแกรมการออกกาลังกายเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่ออกแบบขึ้นไม่มีผลเปลี่ยนแปลงค่าสมรรถภาพปอด อาการเหนื่อย และคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
ที่มา
วารสารกายภาพบำบัด ปี 2556, May-August
ปีที่: 35 ฉบับที่ 2 หน้า 92-101
คำสำคัญ
Chronic obstructive pulmonary disease, Pulmonary rehabilitation, Exercise