ผลของการฝึกกล้ามเนื้อหายใจร่วมกับการออกกำลังกายด้วยยางยืดที่มีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ การขยายตัวของทรวงอก สมรรถภาพปอด และสุขสมรรถนะในหญิงสูงอายุ
ธนวัฒน์ กิจสุขสันต์, ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์*คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ 10330
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการฝึกกล้ามเนื้อหายใจร่วมกับการฝึกออกกำลังกายด้วยยางยืด ที่มีต่อ
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ การขยายตัวของทรวงอก สมรรถภาพปอด และสุขสมรรถนะในหญิง
สูงอายุ
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครหญิงสูงอายุ อายุระหว่าง 60-74 ปี จำนวน 40 คน โดยการเลือกแบบสุ่มลงใน 3 กลุ่มทดลอง ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ฝึกกล้ามเนื้อหายใจเพียงอย่างเดียว 14 คน กลุ่มที่ 2 ฝึกออกกำลังกายด้วยยางยืดเพียงอย่างเดียว 13 คน และกลุ่มที่ 3 ฝึกกล้ามเนื้อหายใจร่วมกับการฝึกออกกำลังกายด้วยยางยืด 13 คน ทำการฝึกกล้ามเนื้อหายใจเข้า 20 นาที และฝึกออกกำลังกายด้วยยางยืด 20 นาที โดยฝึก 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ดำเนินการเก็บข้อมูลทั้งก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ได้แก่ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ การขยายตัวของทรวงอก สมรรถภาพปอด และสุขสมรรถนะ นำผลจากก่อนและหลังการทดลองมาวิเคราะห์ความแตกต่างภายในกลุ่มโดยทดสอบค่าทีแบบรายคู่ และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .05
ผลการวิจัย: หลังการทดลอง 8 สัปดาห์พบว่า ทุกกลุ่มมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจเข้าเพิ่มขึ้น
แต่พบว่ากลุ่มที่ 3 มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจเข้ามากกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การขยายตัวของทรวงอกพบว่า ทุกกลุ่มมีการขยายตัวของทรวงอกเพิ่มขึ้น แต่พบว่ากลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 มีการขยายตัวของทรวงอกมากกว่ากลุ่มที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สมรรถภาพปอดพบว่า
กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 3 มีความแตกต่างจากกลุ่มที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับสุข-
สมรรถนะพบว่า กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 มีความแตกต่างจากกลุ่มที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
นอกจากนี้ ยังพบว่า กลุ่มที่ 3 มีระยะทางการเดินภายใน 6 นาที มากกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติที่ระดับ .05
สรุปผลการวิจัย: การฝึกกล้ามเนื้อหายใจร่วมกับการฝึกออกกำลังกายด้วยยางยืดสามารถเพิ่มความ
แข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจเข้าได้มากกว่าการฝึกกล้ามเนื้อหายใจหรือการฝึกออกกำลังกายด้วยยางยืด
เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจเข้ายังมีผลต่อระยะทางที่เดินได้ภายใน 6 นาที
ที่มา
๋Journal of Sports Science and Health ปี 2556, May-September
ปีที่: 14 ฉบับที่ 2 หน้า 85-98
คำสำคัญ
Respiratory muscle training, Respiratory muscle strength, Resistance band exercise, การฝึกกล้ามเนื้อหายใจ, ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ, การออกกำลังกายด้วยยางยืด