การศึกษาต้นทุนการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ปี 2555
ดำรงค์ สีระสูงเนิน*, ประเสริฐ เก็มประโคน
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์
บทคัดย่อ
การสนับสนุนให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จัดบริการด้านสุขภาพ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาต้นทุนการให้ บริการเพื่อให้ ได้ข้อมูลประกอบการบริหารงบประมาณเป็ นไปในทิศทางที่ถูกต้อง เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสภาพปัญหาและสังคมที่เปลี่ยนแปลง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาต้นทุนหน่วยบริการในสังกัด ปีงบประมาณ 2555 ระยะเวลาตั้งแต่ ตุลาคม 2554–กันยายน 2555 กลุ่มประชากรคือ รพ.สต. ในพื้นที่อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 7 แห่ง ข้อมูลปฐมภูมิได้ แก่ รายรับ-จ่าย สัดส่วนเวลาทำงานของบุคลากร ข้อมูลการให้ บริการผู้ป่วยนอก เครื่องมือที่ใช้ คือแบบบันทึกต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าลงทุน แบบบันทึกเวลาการทำ งาน ข้อมูลการรับบริการผู้ป่วยรายบุคคลจากโปรแกรมสำเร็จรูป HOSxP_PCU, chosxp และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม ucost2013 สถิตที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย อัตราส่วนและร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนโดยรวมของทุก รพ.สต. มีค่าเฉลี่ยต้นทุน ค่าแรงมากที่สุด 1,408,571 บาท รองลงมา ค่าวัสดุ 690,788 บาท และค่าลงทุน 785,028 บาท โดยมีโครงสร้าง เท่ากับ 64:31:05 เมื่อพิจารณาเป็นราย รพ.สต. พบว่า รพ.สต.บ้านกระเบื้องน้อย มีต้นทุนค่าแรงใกล้เคียงค่าเฉลี่ยมากที่สุด 1,461,125 บาท ส่วนค่าวัสดุ และค่าลงทุน รพ.สต.บ้านขามมีค่าใกล้เคียงค่าเฉลี่ยมากที่สุด 683,838 บาท และ 98,953 บาท ตามลำดับส่วนค่าเฉลี่ยโดยรวมของต้นทุนต่อผู้ป่วยนอก 1 ราย คือ 56 บาท เรียกเก็บ 163 บาท เมื่อจำแนกตามการวินิจฉัยโรค พบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมโรคเบาหวาน มีต้นทุน 233 บาท เรียกเก็บ 435 บาท รองลงมาโรคเกี่ยวกับความผิดปกติของเนื้อเยื่ออ่อน มีต้นทุน 149 บาท เรียกเก็บ 156 บาท และโรคความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุ (primary hypertension) มีต้นทุน 147 บาท เรียกเก็บ 311 บาท ตามลำดับ และ รพ.สต.บ้านเสาเดียว มีต้นทุนต่อครั้งสูง ที่สุด 240 บาท การศึกษาครั้งนี้เป็นต้นทุนที่แท้จริง ไม่ใช่ค่ารักษาพยาบาลที่เรียกเก็บ จึงน่าจะ นำมาใช้เป็นแนวทางในการคำนวณงบประมาณในการจัดสรรให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อให้เหมาะสมในการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพและเป็นผลดีต่อทางราชการต่อไป
 
ที่มา
วารสารวิชาการสาธารณสุข ปี 2558, March-April ปีที่: 24 ฉบับที่ 2 หน้า 296-304
คำสำคัญ
Cost analysis, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, วิเคราะห์ต้นทุน, health service cost, health promotion hospital, ต้นทุนการให้บริการ