การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตหญิงหลังคลอดระหว่างการคลอดปกติทางช่องคลอดกับการผ่าตัดคลอด
มนัสชนก มณีอินทร์โรงพยาบาลธนบุรี กรุงเทพมหานคร
บทคัดย่อ
ปัจจุบันอัตราการผ่าตัดคลอดบุตรมีแนวโน้มสูงขึ้นทั่วโลก แต่การผ่าตัดคลอดมีผลเสียทั้งต่อมารดาและทารกการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตหญิงหลังคลอดระหว่างการคลอดปกติทางช่องคลอดกับการผ่าตัดคลอด การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบไปข้างหน้า (prospective cohort study) กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงหลังคลอด แผนกหลังคลอดโรงพยาบาลศิริราช 228 ราย แบ่งเป็น 3 กล่มุ คือ การคลอดปกติทางช่องคลอด การเลือกผ่าตัดคลอดและการผ่าตัดคลอดฉุกเฉิน กลุ่มละ 76 ราย โครงการดำเนินตั้งแต่มิถุนายน - ธันวาคม 2556 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์คุณภาพชีวิตมารดาหลังคลอด โดยสัมภาษณ์ในวันที่ 2 และช่วง 4 - 6 สัปดาห์หลังคลอด จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดสัมภาษณ์ครบที่ 4 - 6 สัปดาห์หลังคลอด 176 ราย แบ่งออกเป็น 59: 58: 59 ราย ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าหญิงหลังคลอดด้วยวิธีการคลอดปกติมีคะแนนคุณภาพชีวิต (maternal postpartum quality of life - MAPPQOL) ภาพรวมและรายด้านดีกว่าการเลือกผ่าตัดคลอด และการผ่าตัดคลอดฉุกเฉิน (คะแนน MAPP-QOL = 24.0: 22.7: 22.4) แต่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05 คือ วันที่ 2 หลังคลอด คะแนนคุณภาพชีวิตรายด้าน การคลอดปกติทางช่องคลอดดีกว่าการผ่าตัดคลอดฉุกเฉิน ในด้านความสัมพันธ์ของคู่สมรส (mean±SD=24.3±3.8:22.9±3.5) ด้านสุขภาพและการทำงาน (mean±SD=22.4±3.8:18.7±5.2) ที่ 4 - 6 สัปดาห์หลังคลอด ด้านเศรษฐกิจ และสังคม (mean±SD=25.9±2.3:24.9±2.4) และด้านความสัมพันธ์ของคู่สมรส (mean±SD=26.5±2.8:25.6±2.8) ถึงแม้ว่าผลคะแนนคุณภาพชีวิต มีความแตกต่างกันไม่มาก แต่ก็แสดงให้เห็นว่าวิธีการคลอดมีผลต่อคุณภาพชีวิตหญิงหลังคลอด ดังนั้น บุคลากร ทางการแพทย์ผู้ดูแลหญิงตั้งครรภ์ควรมีการให้ความรู้เกี่ยวกับผลประโยชน์ต่อมารดาและทารกในแง่ของการคลอดทางช่องคลอด กับการผ่าตัดคลอด เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีข้อมูลในการเลือกวิธีการคลอดได้อย่างเหมาะสม
ที่มา
วารสารวิชาการสาธารณสุข ปี 2558, July-August
ปีที่: 24 ฉบับที่ 4 หน้า 648-658
คำสำคัญ
Quality of life, Cesarean section, คุณภาพชีวิต, หลังคลอด, ผ่าตัดคลอด, POSTPARTUM, คุณภาพชี่วิต, normal vaginal delivery, คลอดปกติทางช่องคลอด