การเปรียบเทียบผลการสอนด้วยสื่อวีดิทัศน์กับภาพพลิกต่อความรู้และความวิตกกังวลของมารดาในการดูแลผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการสวนหัวใจ
อรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์, ปวีณา จึงสมประสงค์*, ชดชนก วิจารสรณ์, วิภารัตน์ สุขทองสา, นวลจันทร์ อุดมพงศ์ลักขณา, ชญานี จตุรชัยเดช
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล บางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์:  เพื่อเปรียบเทียบผลการสอนด้วยสื่อวีดีทัศน์กับภาพพลิกต่อความรู้สึกและความกังวลของมารดาในการดูแลผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการสวนหัวใจ
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลอง
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือมารดาของเด็กโรคหัวใจอายุ 1 เดือน - 6 ปีที่เข้ารับการตรวจสวนหัวใจในโรงพยาบาลศิริราช จำนวน 90 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 45 คน กลุ่มทดลองได้รับการสอนด้วยสื่อวีดิทัศน์ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการสอนด้วยภาพพลิกในวันแรกที่บุตรเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (1 วันก่อนได้รับการสวนหัวใจ) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้และแบบประเมินความวิตกกังวลก่อนและหลังการสวนหัวใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Mann-Whitney U test,
Friedman test และ Wilcoxon signed-ranks test
ผลการวิจัย: คะแนนความรู้ หลังการสอนทันทีและหลังการสวนหัวใจ 1-2 ชั่วโมงของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบไม่แตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติ .05 แต่เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่ม พบว่า แต่ละกลุ่มมีคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ส่วนความวิตกหลังการสอนทันทีของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคญั ทางสถิติ  .05 แต่เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่ม พบว่า แต่ละกลุ่มมีคะแนนความวิตกกังวลลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01)
สรุปและข้อเสนอแนะ: มารดาที่ได้รับข้อมูลจากการสอนด้วยสื่อวีดิทัศน์หรือภาพพลิกต่างมีความรู้เพิ่มขึ้น และความวิตกกังวลลดลง จึงควรส่งเสริมให้นำสื่อการสอนทั้งสองชนิดไปใช้ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ดูแลของผู้ป่วยกลุ่มนี้
 
ที่มา
วารสารพยาบาลศาสตร์ ปี 2557, April-June ปีที่: 32 ฉบับที่ 2 หน้า 41-51
คำสำคัญ
Knowledge, ความรู้, Anxiety, ความวิตกกังวล, VCD, flip chart, cardiac catheterization, สื่อวีดิทัศน์, ภาพพลิก, การสวนหัวใจ