การลดความเจ็บปวดและกังวลจากการเจาะตรวจนํ้าครํ่าช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ด้วยกลิ่นหอม
ธารางรัตน์ หาญประเสริฐพงษ์*, อุ่นใจ กออนันตกุล, เรืองศักดิ์ ลีธนาภรณ์, จิตเกษม สุวรรณรัฐ, ฐิติมา สุนทรสัจ, นิลภา พฤกษานุศักดิ์, สาวิตรี พรานพนัสDepartment of Obstetrics and Gynaecology, 90110, Thailand; Phone: +66-84-6360055; E-mail: [email protected], [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประโยชน์ของกลิ่นหอมจากเมนทอลต่อการลดการเจ็บปวดและกังวลจากการเจาะตรวจนํ้าครํ่าช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์
วัสดุและวิธีการ: การศึกษาแบบไปข้างหน้าเปรียบเทียบระดับความเจ็บปวดที่เกิดจากการเจาะตรวจนํ้าครํ่าช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ระหว่างการได้รับและไม่ได้รับการระงับปวดด้วยกลิ่นหอมจากเมนทอล โดยประเมินด้วยมาตรวัดความปวดด้วยสายตาก่อนและหลังการเจาะตรวจนํ้าครํ่า
ผลการศึกษา: สตรีตั้งครรภ์ 317 คน เข้าร่วมในการศึกษา 158 และ 159 คน ได้รับและไม่ได้รับการระงับปวดด้วยกลิ่นหอมจากเมนทอล ตามลำดับ ระดับความเจ็บปวดและกังวลภายหลังการเจาะตรวจนํ้าครํ่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างสตรีตั้งครรภ์ทั้งสองกลุ่ม ค่าเฉลี่ยความเจ็บปวดที่สตรีตั้งครรภ์คาดมีอิทธิพลต่อระดับความเจ็บปวดและกังวลทั้งก่อนและหลังการเจาะตรวจน้ำคร่ำทั้งสองกลุม่ ระดับความเจ็บปวดกอ่ นและหลังการเจาะตรวจน้ำคร่ำจะเพิ่มขึ้นประมาณ 0.3 เซนติเมตร ตอ่ ทุก 1 เซนติเมตร
ของความเจ็บปวดที่สตรีตั้งครรภ์คาด
สรุป: กลิ่นหอมจากเมนทอลไม่มีประสิทธิภาพอย่างมีนัยสำคัญในการลดความเจ็บปวดและกังวลจากการเจาะตรวจนํ้าครํ่าช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2558, August
ปีที่: 98 ฉบับที่ 8 หน้า 734-738
คำสำคัญ
pain, Genetic amniocentesis, Aromatic therapy, Menthol