ผลของกลุ่มจิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
ศิริลักษณ์ ปัญญา*, เพ็ญนภา แดงต้อมยุทธ์, พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย
คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าก่อนและหลังได้รับการเข้าร่วมจิตบำบัด สัมพันธภาพระหว่างบุคคลแบบกลุ่มและเพื่อเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าระหว่างกลุ่มที่ได้ รับการเข้าร่วมกลุ่มจิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลแบบกลุ่มกับกลุ่มที่ได้รับการรักษาพยาบาลตามปกติ
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงทดลอง ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มารักษาในแผนกผู้ป่วยนอกจำนวน 40 ราย แบ่ง เป็นกลุ่มทดลอง 20 ราย และกลุ่มควบคุม 20 ราย โดยการจับคู่ด้วยเพศและอายุของผู้ป่วยซึมเศร้า เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัยได้แก่ จิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลแบบกลุ่มและแบบประเมินภาวะซึมเศร้า ซึ่งตรวจสอบ คุณภาพเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ราย เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบประเมินภาวะซึมเศร้า ได้ ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยซึมเศร้าเพศชาย อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป โสด การศึกษาระดับ ปริญญาตรี มีอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว รายได้ครอบครัวเฉลี่ยประมาณสองหมื่นบาทต่อเดือน ส่วนใหญ่ไม่มีโรค ประจำตัวอื่น เข้ารับการรักษาโรคซึมเศร้าครั้งแรก ยาที่ใช้ในการรักษาคือฟลูโอซิทีน ผู้ป่วยส่วนใหญ่รับประทานยา สม่ำเสมอและมาพบแพทย์ตามนัด เมื่อวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า 1) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนภาวะซึมเศร้าภายใน กลุ่มที่ได้รับจิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลแบบกลุ่มก่อนและหลังให้ program คือ 14.85 และ 6.40 ตามลำดับ 2) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนภาวะซึมเศร้าระหว่างกลุ่มที่ได้รับจิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลกับ กลุ่มที่ได้รับการรักษาพยาบาลตามปกติ คือ 6.40 และ 12.00 ตามลำดับ
สรุป: ผลของการศึกษาครั้งนี้เพื่อพัฒนาการใช้จิตบำบัดด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคลเน้นที่ปัญหาสัมพันธภาพ ลดอาการซึมเศร้าและเพิ่มคุณค่าในตนเอง ช่วยให้เกิดแนวทางและวิธีการที่จะมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่นใน สังคมได้ การสร้างสัมพันธภาพใหม่ของผู้ป่วยซึมเศร้าที่มีแหล่งสนับสนุนประคับประคองทางจิตใจ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเมื่อเกิดความขัดแย้งกับบุคคลใกล้ชิดการให้ผู้ป่วยสามารถเลือกวิธี แก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นและ สามารถปรับปรุงรูปแบบการสื่อสารจากเดิมที่มีปัญหาเป็นการสื่อสารที่เหมาะสมมากขึ้น หากพยาบาลมีการนำกลุ่มจิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลที่ใช้ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามาใช้ควบคู่กับการดูแลรักษาตามปกติ จะช่วย ให้ผู้ป่วยดีขึ้นและลดระยะเวลาของการรักษาลง จะช่วยลดภาวะซึมเศร้าจากปัญหาสัมพันธภาพในผู้ป่วยซึมเศร้า ช่วยไม่ให้เกิดความรุนแรงของโรคมากขึ้นและทำให้ผู้ป่วยกลับมาดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ตามปกติ และ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
 
ที่มา
วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2558, April-June ปีที่: 60 ฉบับที่ 2 หน้า 99-110
คำสำคัญ
Depression, ภาวะซึมเศร้า, ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า, group interpersonal psychotherapy, patients with depressive disorder, จิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลแบบกลุ่ม