อาการปวดกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็ง: การศึกษาแบบสหสถาบันในประเทศไทย
สมบูรณ์ เทียนทอง*, นุจรี ประทีปะวณิช, จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์, สาวิตรี เมาฬีกุลไพโรจน์, ประเสริฐ เลิศสงวนสินชัย, ลักษมี ชาญเวฃชช์, จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์, นุจรี ประทีปะวณิช, ประเสริฐ เลิศสงวนสินชัย, ลักษมี ชาญเวฃชช์, สมบูรณ์ เทียนทอง, สาวิตรี เมาฬีกุลไพโรจน์Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen 40002, Thailand. E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความปวดกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็ง และประเมินระดับการเปลี่ยนแปลงความปวดที่ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยรูปแบบการวิจัย: การศึกษาแบบ cohort ร่วมกันระหว่างสหสถาบันวัสดุและวิธีการ: ศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งที่มีอาการปวดในโรงเรียนแพทย์ 7 แห่ง และโรงพยาบาลศูนย์อีก 3 แห่งในประเทศไทย ระดับอาการปวดของผู้ป่วยประเมินด้วยเครื่องมือ Brief Pain Inventory ส่วนคุณภาพชีวิตประเมินด้วยเครื่องมือ FACT-G การประเมินความปวดและคุณภาพชีวิตทำครั้งแรกเมื่อเริ่มการศึกษาและทำการประเมินซ้ำอีกใน2 สัปดาห์ต่อมาผลการศึกษา: มีผู้ป่วยที่ร่วมในการศึกษาทั้งหมด 520 ราย (อายุเฉลี่ย 52 ปี) ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (76%) มีอาการปวดตามร่างกาย 2 แห่ง และร้อยละ 80 ของผู้ป่วยได้รับการรักษาอาการปวดตามบันไดขั้นที่ 2 หรือที่ 3 ของแนวทางการระงับปวดของ WHO การประเมินที่เวลา 2 สัปดาห์ต่อมาพบว่า ระดับความปวดสูงสุดลดลงจาก 6.6 เป็น 4.8 (mean difference = -1.8, p < 0.001) และผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจาก 58.6 เป็น 61.0 (mean difference = 2.4, p < 0.001) โดยที่ระดับความปวดสูงสุดที่ลดลงมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (rs = -0.42, p < 0.001) ทั้งนี้ พบว่าค่าคะแนนความปวดที่เปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 3 คะแนน (3 ใน 10 คะแนน) จะส่งผลทำให้ค่าคะแนนของ FACTG มีการเปลี่ยนแปลงในระดับที่เริ่มบ่งบอกได้ว่าส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมี นัยสำคัญทางคลินิกโดยอาการปวดที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อการเปลี่ยนคุณภาพชีวิตมากกว่าอาการปวดที่ลดลง คืออาการปวดเพิ่มขึ้น 3 คะแนน ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง 10.3 คะแนน ในขณะที่อาการปวดลดลง 3 คะแนนทำให้คุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น 7.6 คะแนนสรุป: การวิจัยนี้แสดงให้เห็นความสำคัญของการระงับปวด โดยระดับความปวดที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างน้อย 3 คะแนน (จาก 10 คะแนน) จะส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้อย่างมีนัยสำคัญทั้งทางสถิติและทางคลินิก
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2549, August
ปีที่: 89 ฉบับที่ 8 หน้า 1120-1126
คำสำคัญ
Quality of life, pain, Cancer