เปรียบเทียบการตอบสนองอัตโนมัติต่อความเครียดของแม่ขณะลูกถูกเจาะเลือดเมื่อลูกกำลังดูดนมแม่และหลังจากให้ลูกดูดนมแม่แล้ว
บุณยาพร พันธิตพงษ์*, ยศพล เหลืองโสมนภากลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี
บทคัดย่อ
ที่มาของปัญหา: การเจาะเลือดทารกขณะกำลังดูดนมแม่ เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดความเจ็บปวดในทารกได้อย่าง ปลอดภัยและเป็นธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม วิธีการดังกล่าวนี้อาจเป็นการสร้างความเครียดให้กับแม่ได้ การศึกษาครั้งนี้จึงเป็นการศึกษาความเครียดของแม่ที่กำลังให้นมลูก และต้องเห็นลูกถูกเจาะเลือด โดย ผ่านการประเมินจากการตอบสนองของระบบประสาทอัตโนมัติ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของ 1) อัตราการเต้นของหัวใจ 2) ความดันโลหิต และ 3) O2 saturation ของแม่ขณะที่ลูกถูกเจาะเลือดในแม่ที่กำลังให้ลูกดูดนมกับแม่ที่เพิ่งให้นมลูกอิ่มใหม่ๆ ไม่เกิน 10 นาทีและแม่ที่ให้นมลูกอิ่มมานานเกิน 1 ชั่วโมงแล้ว
วิธีการศึกษา: ศึกษาในแม่ของทารกแรกเกิดครบกำหนดจำนวน 75 คนที่ลูกต้องถูกเจาะเลือดตามกระบวนการ ดูแลทารกตามปกติที่อายุ 48 ชั่วโมง โดยจะถูกจับสลากแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ลูกถูกเจาะเลือด ขณะกำลังดูดนมแม่ กลุ่มที่ 2 ถูกเจาะเลือดหลังเพิ่งดูดนมแม่อิ่มไม่เกิน 10 นาที และกลุ่มที่ 3 ถูก เจาะเลือดขณะที่ไม่ได้ดูดนมแม่มานานเกิน 1 ชั่วโมงแล้ว แต่ไม่เกิน 2 ชั่วโมงโดยแม่ในกลุ่มที่ 2 และ 3 ไม่ได้อยู่ด้วยในขณะที่ลูกถูกเจาะเลือด วัดความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจและค่า O2 saturation ในระยะก่อนเจาะเลือดลูก ขณะลูกถูกเจาะเลือด และหลังลูกถูกเจาะเลือดทุก 15 นาที จนถึง 1 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา Kruskal Wallis test และ Mann - Whitney U test
ผลการศึกษา:
1) แม่กลุ่มที่ให้ลูกดูดนมแม่ในขณะถูกเจาะเลือด กลุ่มที่ลูกถูกเจาะเลือดหลังจากดูดนมแม่อิ่มแล้ว
ไม่เกิน 10 นาที และกลุ่มที่ลูกถูกเจาะเลือดหลังจากดูดนมแม่อิ่มแล้ว 1 ชั่วโมงแต่ไม่เกิน 2 ชั่วโมงมี อัตราการเต้นของหัวใจและค่า O2 saturation ในขณะก่อนที่ลูกถูกเจาะเลือด ขณะที่ลูกถูกเจาะเลือด และหลังจากลูกถูกเจาะเลือดที่ 15, 30, 45 นาที และ 1 ชั่วโมงไม่แตกต่างกัน
2) แม่กลุ่มที่ให้ลูกดูดนมแม่ในขณะถูกเจาะเลือด กลุ่มที่ลูกถูกเจาะเลือดหลังจากดูดนมแม่อิ่มแล้ว
ไม่เกิน 10 นาที และกลุ่มที่ลูกถูกเจาะเลือดหลังจากดูดนมแม่อิ่มแล้ว 1 ชั่วโมงแต่ไม่เกิน 2 ชั่วโมงมีค่า mean arterial pressure ในขณะก่อนที่ลูกถูกเจาะเลือด และหลังจากลูกถูกเจาะเลือดที่ 15, 30, 45 นาที ไม่แตกต่างกัน แต่ทั้งสามกลุ่มค่ามี mean arterial pressure ในขณะลูกถูกเจาะเลือดและหลังลูก ถูกเจาะเลือด 1 ชั่วโมง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.05 โดยกลุ่มที่มีความแตก ต่างกันได้แก่ แม่กลุ่มที่ให้ลูกดูดนมแม่ในขณะถูกเจาะเลือด กับกลุ่มแม่ที่ลูกถูกเจาะเลือดหลังจากดูด นมแม่อิ่มแล้วไม่เกิน10 นาที และแม่กลุ่มที่ให้ลูกดูดนมแม่ในขณะถูกเจาะเลือด กับกลุ่มที่ลูกถูกเจาะ เลือดหลังจากดูดนมแม่อิ่มแล้ว 1 ชั่วโมงแต่ไม่เกิน 2 ชั่วโมง ทั้งนี้ไม่มีแม่รายใดที่มีความดันโลหิตเพิ่ม ขึ้นจนถึงระดับมีความสำคัญทางคลินิก
สรุป: แม่ที่ให้ลูกดูดนมแม่ขณะถูกเจาะเลือดมีค่า mean arterial pressure ในขณะที่ลูกถูกเจาะเลือด สูงกว่าแม่ที่ไม่ได้เห็นลูกถูกเจาะเลือด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มีแม่รายใดที่มีความดันโลหิตเพิ่ม ขึ้นจนถึงระดับมีความสำคัญทางคลินิก การให้ลูกดูดนมแม่ขณะถูกเจาะเลือดเพื่อลดความเจ็บปวดในทารก น่าจะเป็นวิธีการที่เป็นไปได้ในแม่ที่มีความต้องการ โดยไม่ได้ทำให้แม่มีการตอบสนองของระบบ ประสาทอัตโนมัติต่อความเครียดเพิ่มขึ้นอย่างมีความสำคัญทางคลินิก
ที่มา
๋Journal of Prapokklao Hospital Clinical Medicine Education Center ปี 2558, July-September
ปีที่: 32 ฉบับที่ 2 หน้า 218-228
คำสำคัญ
Stress, Breastfeeding, ความเครียด, Autonomic response, นมแม่, การตอบสนองอัตโนมัติ