ประสิทธิภาพในการระงับปวดของยา tramadol/paracetamol (ULTRACETTM ) ในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดก้อนที่เต้านม
สิริพิมพ์ ขันธรักษา
กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลสุรินทร์ จัวหวัดสุรินทร์
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: การระงับปวดแบบผสมผสานเป็นรูปแบบการใช้หลายวิธีการ หรือยาหลายชนิดร่วมกัน เพื่อลดผลข้างเคียงของยาโดยที่ยังคงประสิทธิภาพการระงับปวดอยู่
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการระงับปวดและภาวะไม่พึงประสงค์ของยา UltracetTM (tramadol 37.5 mg/paracetamol 325 mg) โดยการบริหารยาแบบครั้งเดียวหลังผ่าตัดก้อนที่เต้านม เปรียบเทียบระหว่างยกหลอก, Ultracet 1 เม็ด (tramadol 37.5 mg/paracetamol 325 mg) และ Ultracet 2 เม็ด (tramadol 75 mg/paracetamol 650 mg)
วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาแบบ prospective cohort study ในผู้ป่วย 90 คน ที่เข้ารับการผ่าตัดก้อนที่เต้านม ด้วยการระงับความรู้สึกแบบทั่วตัว หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะรับยาแก้ปวดโดยวิธีสุ่มแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน คือ กลุ่มยาหลอก, กลุ่ม Ultracet 1 เม็ด (TP1), กลุ่ม Ultracet 2 เม็ด (TP2) บันทึกคะแนนปวด, ปริมายามอร์ฟีนที่ได้รับและภาวะไม่พึงประสงค์ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ง่วงซึมที่ 1, 4, 8 ชั่วโมงหลังผ่าตัด
ผลการศึกษา: คะแนนปวดและปริมาณมอร์ฟีนที่ได้รับลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 1, 4 ชั่วโมงในกลุ่ม TP1 ในขณะที่กลุ่ม TP2 ลดลงที่ 1, 4, 8 ชั่วโมงเมื่อเทียบกับยาหลอกและอุบัติการณ์เกิดภาวะไม่พึงประสงค์ไม่แตกต่างกันในทั้ง 3 กลุ่ม
สรุป: การบริหารยา UltracetTM 2 เม็ดแบบครั้งเดียว มีประสิทธิภาพในการระงับปวดหลังผ่าตัดก้อนที่เต้านมโดยที่ภาวะไม่พึงประสงค์เท่ากับ UltracetTM 1 เม็ด และยาหลอก
 
ที่มา
วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ปี 2558, January-April ปีที่: 30 ฉบับที่ 1 หน้า 39-48
คำสำคัญ
Tramadol, Post operative pain, Paracetamol, ULTRACETTM, muLtimodaI anaLgesia, breast mass excision, ระงับปวดหลังผ่าตัด, ระงับปวดแบบผสมผสาน, ยาอุลตรเซท, ผ่าตัดก้อนที่เต้านม