การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของผ้าห่มชนิดเป่าลมอุ่น ที่ประดิษฐ์จากชุมดผ่าตัดกับผ้าห่มเป่าลมอุ่นจากบริษัทเวชภัณฑ์ในกลุ่มผู้ป่วยที่ เข้ารับการผ่าตัดช่องท้อง
ปาริยา ผลิเจริญผล
กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของผ้าห่มชนิดเป่าลมอุ่นที่ประดิษฐ์จากชุดผ้าตัดกับผ้าห่ม เป่าลมอุ่นจากบริษัทเวชภัณฑ์ในกลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดช่องท้อง
วัสดุและวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ randomized prospective, non-inferiority trial ผู้ป่วย 69 คนที่มาทำการผ่าตัดช่องท้องแบบไม่เร่งด่วน ภายใต้การระงับความรู้สึกแบบทั่วไป ผู้ป่วยถูกสุ่มให้ใช้ผ่า ห่มเป่าลมอุ่นจากบริษัทเวชภัณฑ์ (กลุ่มควบคุม) 35 คน และผ้าห่มเป่าลมอุ่นที่ประดิษฐ์จากชุดผ้าตัด (กลุ่ม ทดลอง) 34 คน และตรวจติดตามอุณหภูมิแกนกลางทางโพรงจมูกระหว่างผ่าตัด หลังจากผ่าตัดเสร็จให้วัด อุณหภูมิรักแร้และตรวจสอบการบาดเจ็บจากความร้อนที่ห้องพักฟื้น
ผลการศึกษา: กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิแกนกลางทางโพรงจมูกสุดท้าย 36.52±0.44 และ 36.44±0.57 องศาเซลเซียส ซึ่งแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.52) ความ แตกต่างของค่าเฉลี่ย คือ 0.08 องศาเซลเซียส (ช่วงความเชื่อมั่น 95% -0.33, 0.17) ประสิทธิภาพของผ้าห่ม เป่าลมอุ่นที่ประดิษฐ์จากชุดผ่าตัดจึงไม่ต่ำกว่าผ้าห่มเป่าลมอุ่นจากบริษัทเวชภัณฑ์มีผู้ป่วย 9 รายในกลุ่ม ควบคุม (ร้อยละ 25.71) และ 4 รายในกลุ่มทดลอง (ร้อยละ 14.71) มีอุณหภูมิแกนกลางต่ำกว่า 36 องศา เซลเซียส ซึ่งแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.26) อุณหภูมิรักแร้ในห้องพักฟื้นที่เวลา 10, 30, 60 นาทีระหว่างสองกลุ่ม มีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติไม่พบการบาดเจ็บจากความร้อนในผู้ป่วย ทั้งสองกลุ่ม
สรุป: ประสิทธิภาพของผ้าห่มเป่าลมอุ่นที่ประดิษฐ์จากชุดผ่าตัดไม่ต่ำกว่าผ้าห่มเป่าลมอุ่นจาก บริษัทเวชภัณฑ์การประดิษฐ์ผ้าห่มจากชุดผ่าตัดเป็นการลดขยะ นำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ มีต้นทุนต่ำและ สามารถผลิตใช้ได้เองในโรงพยาบาล
 
ที่มา
วารสารแพทย์เขต 4-5 ปี 2559, October-December ปีที่: 34 ฉบับที่ 4 หน้า 281-296
คำสำคัญ
perioperative hypothermia, forced air warming blanket, ภาวะอุณหภูมิกายต่ำระหว่างการผ่าตัด, ผ้าห่มเป่าลมอุ่น