ความแตกต่างของผลการรักษาโรคกล้ามเนื้อใบหน้ากระตุกครึ่งซีก ด้วยการฉีดยาโบทูลินัมทอกซินแบบแบ่งจุดฉีดกับไม่แบ่งจุดฉีด
อนุวัชร์ พฤทธิพงศ์สิทธิ์, นิพัฒน์ เอื้ออารี*
Department of Ophthalmology, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University, Hat Yai, Songkhla 90110, Thailand; Phone: +66-74-451380-1, Fax: +66-74-429619; Email: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาโรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีกด้วยการฉีดโบทูลินัมทอกซิน (Botulinum toxin) ด้วยวิธีการแบ่งตำแหน่งฉีดกับไม่แบ่งตำแหน่งฉีด
วัสดุและวิธีการ: ผู้ป่วยโรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีกทั้งหมด 31 ราย แบ่งออกเป็นสองกลุ่มด้วยวิธีการสุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มแบ่งตำแหน่งฉีด ได้รับการรักษาโดยการฉีดโบทูลินัมทอกซินเข้ากล้ามเนื้อ zygomaticus major, zygomaticus minor และ risorius ซี่งแบ่งการฉีดที่ risorius เป็นสองตำแหน่ง กลุ่มที่สองคือกลุ่มไม่แบ่งตำแหน่งฉีด ได้รับการรักษาโดยการฉีดโบทูลินัมทอกซินเข้ากล้ามเนื้อ zygomaticus major และ risorius โดย risorius ได้รับการฉีดที่ตำแหน่งเดียว และได้รับยาหลอกคือ normal saline ที่กล้ามเนื้อ zygo maticus minor และ risorius อีกตำแหน่งที่เหลือ ตัวแปรหลักที่นำมาวิเคราะห์ผลของการศึกษานี้ คือ วันเริ่มออกฤทธิ์ของยา และระยะเวลาออกฤทธิ์ของยา
ผลการศึกษา: แบ่งผู้ป่วย 16 ราย อยู่ในกลุ่มแบ่งตำแหน่งฉีด และ 15 ราย อยู่ในกลุ่มไม่แบ่งตำแหน่งฉีด มีอายุอยู่ที่ 57.0 ปี (25-82 ปี) มีอาการของโรคเป็นมา 36.0 สัปดาห์ ได้รับปริมาณยาเฉลี่ย 6.72 ยูนิต และ 5.67 ยูนิต ในกลุ่มแบ่งตำแหน่งฉีดและไม่แบ่งตำแหน่งฉีด ตามลำดับ ติดตามผลของการรักษาที่ 12 สัปดาห์ วันเริ่มออกฤทธ์ของยาอยู่ที่ 4.0 วัน และ 4.5 วัน ตามลำดับ (p = 0.984) ระยะเวลาออกฤทธิ์ของยาอยู่ที่ 60.0 วัน และ 54.5 วัน ตามลำดับ (p = 0.572)
สรุป: การรักษาโรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีกด้วยวิธีการแบ่งตำแหน่งฉีดกับไม่แบ่งตำแหน่งฉีด ไม่มีความแตกต่างในผลการรักษา และผลข้างเคียง
 
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2558, November ปีที่: 98 ฉบับที่ 11 หน้า 1119-1123
คำสำคัญ
Hemifacial spasm, Botulinum toxin, Dysport®