ความแตกต่างของความเข้มข้นเลือดในทารกคลอดทางช่องคลอดก่อนและครบกำหนดด้วยการหนีบสายสะดือช้าต่างกัน
สมปรารถนา มังกรแก้ว*, ธีระ ศิวดุลย์
Department of Obstetrics & Gynecology Division, Chonburi Hospital, Chonburi 20000, Thailand
บทคัดย่อ
วัสดุและวิธีการ: เปรียบเทียบความแตกต่างความเข้มข้นเลือดของทารกคลอดทางช่องคลอดหลังการหนีบสายสะดือช้า 1 และ 2 นาที และผลต่อมารดาและทารกที่เวลา 48 ชั่วโมงหลังคลอด
วัสดุและวิธีการ: หญิงตั้งครรภ์เดี่ยวก่อนและครบกำหนด คลอดทางช่องคลอดในโรงพยาบาลชลบุรี เข้าได้กับการวิจัย 200 คน แบ่งโดยการสุ่มได้กลุ่มละ 100 คน คลอดโดยหนีบสายสะดือช้า 1 และ 2 นาที เจาะเลือดทารกหลังคลอด 48 ชั่วโมง ดูความแตกต่างความเข้มข้นเลือดของสองกลุ่ม ติดตามผลแทรกซ้อนต่อทารกและมารดา
ผลการศึกษา: หญิงตั้งครรภ์ในสองกลุ่ม ไม่มีความแตกต่างทางข้อมูลทั่วไป พบว่าค่าความเข้มข้นของเลือดฮีโมโกลบิน และไมโครบิลลิรูบินของทารกที่ 48 ชั่วโมง ในกลุ่มหนีบสายสะดือช้า 2 นาที มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ 53.44% กับ 52.39 % (p = 0.041) 16.33 g/dL กับ 14.74 g/dL (p = 0.001) และ 11.04 mg/dL กับ 10.17 mg/dL (p = 0.011) ตามลำดับ พบภาวะเหลือง ใช้การส่องไฟรักษา และรับเข้าแผนกทารกป่วยในกลุ่มหนีบสายสะดือช้า 2 นาทีมากกว่า คือ 1% กับ 9% (p = 0.009) 1% กับ 8% (p = 0.017) และ 2% กับ 10% (p = 0.017) ตามลำดับ ไม่พบความแตกต่างทางสถิติในคะแนนแอปการ์ ปริมาณเลือดที่เสียในมารดา การตกเลือดหลัง คลอด และระยะการคลอดที่สาม ไม่พบภาวะซีด ความเข้มข้นเลือดสูงและการแลกเปลี่ยนเลือดในทารก
สรุป: การหนีบสายสะดือช้า 2 นาทีเพิ่มความเข้มข้นเลือด ค่าฮีโมโกลบิน และไมโครบิลิรูบินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่งผลให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนมากกว่า คือ เหลือง และต้องรักษาโดยการส่องไฟ
 
ที่มา
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2558, October ปีที่: 23 ฉบับที่ 4 หน้า 223-230
คำสำคัญ
delayed cord clamping, maternal outcomes, neonatal jaundice