คุณภาพชีวิตและการรับรู้ภาวะสุขภาพในผู้ที่ได้รับบาดเจ็บของไขสันหลัง
ปิยะวัฒน์ ตรีวิทยา*, พรทิพย์ วัฒนาวิทวัส
ภาควิชากิจกรรมบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับและความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตกับการรับรู้ภาวะสุขภาพในกลุ่มตัวอย่างบาดเจ็บไขสันหลังที่อาศัยอยู่ในชุมชน
วิธีการศึกษา: ประเมินระดับคุณภาพชีวิตและระดับการรับรู้ ภาวะสุขภาพด้วยแบบประเมินWHOQOL-BREF ฉบับภาษาไทย และแบบประเมิน SF-36 รุ่น 2 ฉบับภาษาไทย ในกลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 ราย
ผลการศึกษา: คะแนนของระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมจากแบบประเมินWHOQOL-BREF ฉบับภาษาไทยอยู่ในระดับปานกลาง (85.03±9.86) เมื่อเทียบกับค่าปกติของคนไทยและจากการศึกษาที่ผ่านมาในผู้บาดเจ็บไขสันหลังในประเทศไทย คะแนนของการรับรู้ภาวะสุขภาพทางด้านสุขภาพทางร่างกายมีค่าต่ำกว่าค่าปกติของคนไทย ในขณะที่คะแนนของการรับรู้ภาวะสุขภาพ ทางจิตใจอยู่ในระดับใกล้เคียงกับค่าปกติของคนไทย ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างองค์ประกอบย่อยของแบบประเมินทั้งสอง ยกเว้นองค์ประกอบทางด้านสุขภาพทางกายโดยรวม
สรุปผลการศึกษา: ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงอิทธิ พลของการรับรู้ภาวะสุขภาพที่มีต่อระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมในกลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยนี้ผู้วิจัยคาดว่าการเผชิญหน้าและจัดการกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากระดับความสามารถทางร่างกายจะลดลง จากความพิการ รวมทั้งการมีส่วนร่วมในสังคมมีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตแม้ว่าระดับความสามารถทางร่างกายถูกจำกัดโดยความพิการ
 
ที่มา
ฺีBulletin of Chiang Mai Associated Medical Sciences ปี 2559, May-August ปีที่: 49 ฉบับที่ 2 หน้า
คำสำคัญ
บาดเจ็บไขสันหลัง, Spinal cord injury, WHOQOL-BREF: Thai version, SF-36 V2: Thai version, แบบประเมิน WHOQOL-BREF ฉบับภาษาไทย, แบบประเมิน SF-36 รุ่น 2 ฉบับภาษาไทย