การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการรักษาผู้ป่วยโรคหูน้ำหนวกเรื้อรังจากเชื้อแบคทีเรียระหว่างสารละลาย Burow ความเข้มข้นร้อยละ 8 กับยาปฏิชีวนะ Sofradex ชนิดหยอดหู
จตุรงค์ จงสถิตย์ไพบูลย์*, วันดี ไข่มุกด์, สุรีรัตน์ เจะและ
Department of Otolaryngology,Faculty of Medicine, Prince of Songkla University, Hat Yai, Songkhla, 90110, Thailand
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลของการรักษาโรคหูน้ำหนวกเรื้อรังจากเชื้อแบคทีเรียระหว่างการใช้ยาฆ่าเชื้อหยอดหู ชนิดสารละลาย Burow ความเข้มข้นร้อยละ 8 กับยาปฏิชีวนะ sofradex ชนิดหยอดหูวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ double-blinded, randomized trial เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการรักษาผู้ป่วยโรคหูน้ำหนวกเรื้อรังจากเชื้อแบคทีเรียด้วยยาปฏิชีวนะ sofradex กับสารละลาย Burow ความเข้มข้นร้อยละ 8 ทั้งได้เก็บข้อมูลด้านจุลชีววิทยาของเชื้อที่เป็นสาเหตุในแง่ชนิด และ sensitivity ของเชื้อ รวมถึงผลแทรกซ้อนต่างๆ จากการรักษาร่วมด้วยผลการรักษา: ความสำเร็จจากการรักษาด้วยยา sofradex เป็น 18 ใน 25 (ร้อยละ 72) และสารละลาย Burow ความเข้มข้นร้อยละ 8 เป็น 7 ใน 16 ราย (ร้อยละ 43.75) แต่พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ชนิดของเชื้อที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ Pseudomonas aeruginosa, Staphylococcus aureus และ Corynebacterium spp. ซึ่งเชื ้อส่วนใหญ่ sense ต่อยา sofradex ยกเว้น Pseudomonas spp. พบเพียง 10 ใน 20 ราย (ร้อยละ 50) เท่านั้นที ่ sense ต่อยานี้ สำหรับ inhibition zone ของสารละลาย Burow ความเข้มข้นร้อยละ 8 ต่อเชื้อทุกชนิด มีค่าประมาณ 6-12 มม. จากการศึกษานี้ไม่พบภาวะแทรกซ้อนใดในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ยกเว้นพบมีตะกอนขาวในช่องหูผู้ป่วยในกลุ่มที่ได้รับสารละลาย Burow ความเข้มข้นร้อยละ 8สรุป: จากผลการศึกษาไม่สามารถสรุปได้ว่าการรักษาผู้ป่วยโรคหูน้ำหนวกเรื้อรังจากเชื ้อแบคทีเรียด้วยสารละลาย Burow ความเข้มข้นร้อยละ 8 ให้ผลดีกว่ายา sofradex ในทางตรงกันข้ามพบว่ามีแนวโน้มที่การรักษาด้วยยา sofradex จะให้ผลการรักษาที่ดีกว่าด้วย
ที่มา
สงขลานครินทร์เวชสาร ปี 2547, ตุลาคม-ธันวาคม ปีที่: 22 ฉบับที่ 4 หน้า 211-219
คำสำคัญ
Burow’s solution, chronic suppurative otitis media, sofradex ear drop, ยาปฏิชีวนะชนิดหยอด sofradex, สารละลาย Burow's, โรคหูน้ำหนวกเรื้อรัง