ผลของการรับประทานชุดอาหารเช้าที่มีชนิดนํ้าตาลที่แตกต่างกันระหว่างนํ้าตาลไอโซมอลตูโลส กับนํ้าตาลซูโครสต่อการนำสารอาหารไปใช้และการเปลี่ยนแปลงของระดับนํ้าตาลและอินซูลินในเลือด ศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
พิมพ์นภาณัท ศรีดอนไผ่, สุรัตน์ โคมินทร์, วันทนีย์ เกรียงสินยศ*
Institute of Nutrition, Mahidol University, Nakhon Pathom 73170, Thailand; Phone: +66-99-3254932; E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการใช้สารอาหาร การเปลี่ยนแปลงระดับนํ้าตาลและอินซูลินในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 (T2DM) หลังรับประทานชุดอาหารเช้าที่ประกอบด้วยนํ้าตาลที่แตกต่างกัน ระหว่างนํ้าตาลไอโซมอลตูโลส (ISO) และนํ้าตาลทรายหรือนํ้าตาลซูโครส (SUC)
วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาเชิงทดลองไขว้กลุ่มแบบสุ่มที่มีการปกปิด ชนิดอาหารที่ได้รับของผู้เข้าร่วมการทดสอบและผู้ประเมินผลลัพธ์ โดยมีระยะห่างระหว่างการศึกษาประมาณ 2-5 วัน ในวันก่อนการทดสอบผู้เข้าร่วมการทดสอบจะงดการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม ยกเว้น นํ้าเปล่า ประมาณ 10-12 ชั่วโมง ก่อนการทดสอบ ในวันทดสอบผู้นิพนธ์วัดการเปลี่ยนแปลงระดับนํ้าตาลและอินซูลินในเลือด การใช้สารอาหารก่อนและหลังการรับประทานอาหารเช้าที่ประกอบด้วยชนิดนํ้าตาลที่แตกต่างกัน ได้แก่ ISO
และ SUC และติดตามการเปลี่ยนแปลงหลังจากการรับประทานอาหารกลางวันมาตรฐานที่มีปริมาณเท่ากัน ต่อไปอีก 3 ชั่วโมง
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2  มีแนวโน้มค่าระดับนํ้าตาลในเลือดหลังรับประทานอาหารเช้าที่ประกอบด้วยนํ้าตาล ISO ที่ ตํ่ากว่าหลังรับประทานชุดอาหารเช้าที่ประกอบด้วยนํ้าตาล SUC ที่ 30 และ 60 นาที เมื่อติดตามอิทธิพลต่อมื้ออาหารถัดไปพบว่าการเพิ่มขึ้นของระดับอินซูลินหลังรับประทานอาหารกลางวันมาตรฐาน (นาทีที่ 240) ของอาหารเช้าที่ประกอบด้วยนํ้าตาล ISO มีแนวโน้มค่าการเพิ่มขึ้นตํ่ากว่านํ้าตาล SUC การนำสารอาหารไปใช้ โดยติดตามการเพิ่มขึ้นของการเผาผลาญไขมัน พบว่า พื้นที่ใต้กราฟ
ของการเผาผลาญสารอาหารไขมันในอาหารเช้าที่ประกอบด้วยนํ้าตาล ISO มีค่าสูงกว่า SUC ร้อยละ 20
สรุป: การรับประทานอาหารเช้าที่ประกอบไปด้วยนํ้าตาล ISO มีแนวโน้มทำให้ระดับนํ้าตาลในเลือดและอินซูลินหลังรับประทานอาหารเช้าเพิ่มขึ้นน้อยกว่า และทำให้เกิดการเผาผลาญสารอาหารไขมันเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการรับประทานอาหารเช้าที่ประกอบด้วยน้ำตาล SUC
 
 
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2559, March ปีที่: 99 ฉบับที่ 3 หน้า 282-289
คำสำคัญ
Type 2 diabetes, Fat oxidation, Glycemic control, Isomaltulose